วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จุดอ่อนของคนไทย 10 ประการ

ต้องบอกว่าประเทศไทยเปิดศักราชปีเสือไม่โสภา เมื่อ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ระบุว่าไทยอาจไม่เป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนเหมือนที่ผ่านมาในสายตาของนักลงทุนญี่ปุ่น  ทำให้คิดถึงความคิดเห็นของ วิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าพ่ออมตะนครที่เคยพูดถึง “จุดอ่อน” ของคนไทยไว้ 10 ข้อคือ  
1 . คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก   โดยเฉพาะ หน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดเป็น ธุรกิจการเมือง ธุรกิจราช การ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติล้าหลังไปเรื่อยๆ 
2.   การศึกษายังไม่ทันสมัย   คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่างๆ ไม่กล้าแสดงออก ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตามหลังชาติอื่น จะเห็นว่าคนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า 
3.   มองอนาคตไม่เป็น   คนไทยมากกว่า 70% ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงานแบบเป็นระบบ เป็นขั้น เป็นตอ มีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน 
4.   ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ทำแบบผักชีโรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญาหรือข้อตกลงอย่างเคร่ง ครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือด้านนี้ลงเรื่อยๆ 
5.   การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่   ประชากรประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและชุมชนซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม
6.   การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน ต่างกับประเทศที่เจริญแล้ว ข้อนี้กระบวนการยุติธรรมจะต้องปรับปรุง 
7.   อิจฉาตาร้อน   สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี่ยงเป็นศรีธนญชัยยกย่องคนมีอำนาจ มีเงิน โดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจ เอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่า ผู้ก่อการร้ายดีแต่พูด มือไม่พายเอาเท้ารานํ้า ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว & nbsp;
8.   เอ็นจีโอค้านลูกเดียว เอ็น จีโอ บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์เอ็นจีโอดีๆ ก็มี แต่บ้านเรามีน้อย บ่อยครั้งที่ประเทศเราเสียโอกาสอย่างมหาศาลเพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริงๆ ไม่ได้พูดกัน 
9.   ยังไม่พร้อมในเวทีโลก   การสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระดับโลกของเรายังขาดทักษะและทีมเวิร์ค ที่ดี ทำให้สู้ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้ 
10. เลี้ยงลูกไม่เป็น   ปัจจุบัน เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็ง เพราะเราเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเอง ต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะกระตือรือร้นช่วยตนเองขวนขวาย แสวงหา ค้นหาตัวเอง และเขาจะสอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคมข้อสุดท้าย! อ่านแล้วอาจต้องแปะติดข้างฝาไว้เลย!! 

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาตรฐานด้านความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม

มาตรฐานด้านความร้อน
เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม หมวด 1 ความร้อน
ข้อ 2ภายในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างทำงานอยู่ จะมีสภาพความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายของลูกจ้างสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส มิได้
ข้อ 3ในกรณีที่สถานประกอบการ มีสภาพความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายของลูกจ้างสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส ให้นายจ้างดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงเพื่อลดสภาพความร้อนนั้น หากแก้ไขหรือปรับปรุงไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเครื่องป้องกันความร้อน มิให้อุณหภูมิร่างกายของลูกจ้างสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส
ข้อ 4ในกรณีอุณหภูมิร่างกายของลูกจ้างสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดพักชั่วคราว จนกว่าอุณหภูมิร่างกายของลูกจ้างอยู่ในสภาพปกติ
ข้อ 5 ในที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน ที่มีสภาพความร้อนสูงถึงขนาดที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของบุคคล ให้นายจ้างปิดประกาศเตือนให้ทราบ
ข้อ 6ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานใกล้แหล่งกำเนิดความร้อน ที่ทำให้อุณหภูมิในบริเวณนั้นสูงเกินกว่า 45 องศาเซลเซียส สวมชุดแต่งกาย รองเท้า และถุงมือสำหรับป้องกันความร้อนมาตรฐานที่กำหนดในหมวด 4 ตลอดเวลาการทำงาน
 
มาตรฐานด้านแสงสว่าง

เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม หมวด 2 แสงสว่าง
1.งานที่ไม่ต้องการความละเอียด เช่น การขนย้าย การบรรจุ การบด ต้องมีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า 50 Lux
2.ในโกดังหรือห้องเก็บวัสดุ เฉลียง และบันไดในบริเวณสถานที่ประกอบการ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 Lux
3. งานที่ต้องการความละเอียดเล็กน้อย เช่น การผลิตหรือประกอบชิ้นส่วนอย่างหยาบๆ การสีข้าว ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 Lux
4.งานที่ต้องการความละเอียดปานกลาง เช่น การเย็บผ้า การเย็บหนัง ประกอบภาชนะ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 200 Lux
5. งานที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น การกลึงแต่งโลหะ การซ่อมแซมเครื่องจักร การทดสอบหรือตรวจผลิตภัณฑ์ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 300 Lux
6. งานที่ต้องการความละเอียดมากเป็นพิเศษ เช่น เจียระไนเพชร พลอย การประกอบชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก การเย็บผ้าสีมืดทึบ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 1000 Lux
7.ถนนและทางเดินนอกอาคารต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 20 Lux


มาตรฐานด้านเสียง

เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม หมวด 3 เสียง

ภายในสถานที่ประกอบการที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงาน ดังต่อไปนี้


1.
ไม่เกินวันละเจ็ดชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกินเก้าสิบเอ็ดเดซิเบล (เอ)
2.
เกินวันละเจ็ดชั่วโมง แต่ไม่เกินแปดชั่วโมง จะต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกินเก้าสิบเดซิเบล (เอ)
3.
เกินวันละแปดชั่วโมง จะต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกินแปดสิบเดซิเบล (เอ)
4.
นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีระดับเสียงเกินกว่าหนึ่งร้อยสิ่สิบเดซิเบล (เอ) มิได

มาตรฐานตรวจวัดระดับเสียงสูงสุด

มาตรฐาน
TWA ( 8 hr )
Lmax
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
90 d B(A)
140 d B (A)
OSHA
90 d B(A)
115 d B (A)


มาตรฐานด้านสารเคมีและอนุภาค
เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม( สารเคมี )


1.
ตลอดระยะเวลาการทำงาน ภายในสถานประกอบการที่ให้ลูกจ้างทำงาน จะมีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศของการทำงานโดยเฉลี่ย เกินกว่าที่กำหนดในตารางหมายเลข 1 ตามท้ายประกาศนี้มิได้
2.
ไม่ว่าระยะเวลาใดของการทำงาน ห้ามให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีเกินกว่าที่กำหนดในตารางหมายเลข 2 ท้ายประกาศนี้
3.
ห้ามให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีเกินกว่าที่กำหนดไว้ในตารางหมายเลข 3 ท้ายประกาศนี้
4.
ห้ามให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีปริมาณฝุ่นแร่ในบรรยากาศของการทำงาน ตลอดระยะเวลาการทำงานปกติเฉลี่ยเกินกว่าที่กำหนดในตารางหมายเลข 4 ตามท้ายประกาศนี้

มาตรฐานเกี่ยวกับอนุภาค

มาตรฐาน
ไทย
OSHA
NIOSH
ACGIH
PNOC
( mg/ m3)
Inhalable
dust
-
15
-
10
Respirable dust
-
5
-
3
Silica
( mg/ m3)
Inhalable
dust
30/
(%silica + 2)
-
-
-
Respirable dust
10/
(%silica + 2)
10/
(%silica + 2)
0.05
0.1
Aluminium
( mg/ m3)
Inhalable
dust
-
-
10
10
Respirable dust
-
-
5
-

หมายเหตุ : PNOC : Particulate not otherwise classified
มาตรฐานของ สำหรับอนุภาคอื่นๆ OSHA, NIOSH, ACGIH สามารถค้นคว้าได้จากหนังสือหรือเอกสารต่างๆ


มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย
1. สีเพื่อความปลอดภัยและสีตัดให้เป็นไปตามตาราง ดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 สีเพื่อความปลอดภัยและสีตัด

สีเพื่อความปลอดภัยความหมายตัวอย่างการใช้งานสีตัด
สีแดง- หยุด- เครื่องหมายหยุด
- เครื่องหมายอุปกรณ์หยุดฉุกเฉิน
- เครื่องหมายห้าม
สีขาว
สีเหลือง- ระวัง
- มีอันตราย
- ชี้บ่งว่ามีอันตราย ( เช่น ไฟ วัตถุระเบิด กัมมันตภาพรังสี วัตถุมีพิษและอื่นๆ )
- ชี้บ่งถึงเขตอันตราย ทางผ่านที่มีอันตราย เครื่องกีดขวาง 2)
- เครื่องหมายเตือน
สีดำ
สีฟ้า- บังคับให้ต้องปฏิบัติ- บังคับให้ต้องสวมเครื่องป้องกันส่วนบุคคล
- เครื่องหมายบังคับ
สีขาว
สีเขียว- แสดงภาวะปลอดภัย- ทางหนี
- ทางออกฉุกเฉิน
- ฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน
- หน่วยปฐมพยาบาล
- หน่วยกู้ภัย
- เครื่องหมายสารนิเทศแสดงภาวะปลอดภัย
สีขาว

หมายเหตุ : 1) สีแดงยังใช้สำหรับอุปกรณืเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิง และตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย
2) อาจใช้สีแดงส้มวาวแสงแทนสีเหลืองได้ แต่มิให้ใช้แทนสีเหลืองกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยตามตาราง ที่ 2 สีแดงส้มวาวแสงนี้มองเห็นเด่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มืดมัว


2.
รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยและสีที่ใช้แบ่งเป็น 4 ประเภทตามจุดประสงค์ของการแสดงความหมาย ตามตารางที่ 2

ตารางที่ 2 รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

ประเภท
รูปแบบ
สีที่ใช้
หมายเหตุ
เครื่องหมายห้าม
สีพื้น : สีขาว
สีของแถบตามขอบวงกลม และขอบขวาง : สีแดง
สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีดำ
- พื้นที่ของสีแดง ต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
- แสดงสัญลักษณ์ภาพไว้ตรงกลาง ของเครื่องหมาย โดยไม่ทับแถบขวาง
เครื่องหมายเตือน
สีพื้น : สีเหลือง
สีของแถบตามขอบ : สีดำ
สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีดำ
- พื้นที่ของสีเหลือง ต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
เครื่องหมายบังคับ
สีพื้น : สีฟ้า สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีขาว- พื้นที่ของสีฟ้า ต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
เครื่องหมายสารนิเทศ เกี่ยวกับภาวะปลอดภัย
สีพื้น : สีเขียว สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีขาว- พื้นที่ของสีเขียว ต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
- อาจใช้รูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้
 
3.
ในกรณีไม่มีสัญลักษณ์ภาพที่เหมาะสมสำหรับสื่อความหมายตามที่ต้องการ ให้ใช้เครื่องหมายทั่วไปสำหรับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยร่วมกับเครื่องหมายเสริม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
-
รูปแบบของเครื่องหมายเสริมเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส
-
สีพื้นเป็นสีเดียวกับสีเพื่อความปลอดภัย และสีข้อความเป็นไปตามสีตัดในตารางที่ 1 หรือสีพื้นสีขาวข้อความสีดำ
-
ช่องไฟระหว่างตัวอักษรต้องไม่แตกต่างกันมากกว่าร้อยละ 10
-
ลักษณะตัวอักษรต้องดูเรียบง่าย ไม่มีแรเงาหรือลวดลาย
-
ความกว้างของตัวอักษรไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของความสูงตัวอักษร

ตัวอย่าง
    
ขนาดของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยและตัวอักษร
ขนาดของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย และตัวอักษรที่ใช้ในเครื่องหมายเสริม กำหนดไว้เป็นแนวทางตามตารางที่ 3 ดังนี้

ตารางที่ 3 ขนาดของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย และตัวอักษร

ความสูงพิกัดของแผ่นเครื่องหมาย (a)
เส้นผ่านศูนย์กลาง หรือความสูงของเครื่องหมาย (b)
ความสูงของตัวอักษร ในเครื่องหมายเสริม
75
100
150
225
300
600
750
900
1200
60
80
120
180
240
480
600
720
960
5.0
6.6
10.0
15.0
20.0
40.0
50.0
60.0
80.0

  มาตรฐาน ACGIH
( American Conference of Governmental Industrial Hygiene )

Heat Exposure Tables
Permissible Heat Treashold Limit Value ( Value are give in ° C WBGT )

ช่วงทำงาน - พักในแต่ละชั่วโมงความหนักเบาของงาน
งานเบางานปานกลางงานหนัก
ทำงานตลอดเวลา30.026.725.0
ทำงาน 75% พัก 25%30.630.625.9
ทำงาน 50% พัก 50%31.431.427.9
ทำงาน 25% พัก 75%32.232.230.0

From “American Conference of Governmental Industrial Hygienists Treshold Limit Values and Biological Exposure Indices for 1988 – 1989“
งานเบา หมายถึง งานที่ต้องใช้พลังงานไม่เกิน 200 Kcal / hr หรือ 800 BTU / hr เช่น นั่งหรือยืนควบคุมเครื่องจักร ทำงานเบาด้วยมือหรือแขน
งานปานกลางหมายถึง งานที่ต้องใช้พลังงาน 200 - 350 Kcal / hr หรือ 800 - 1400 BTU / hr เช่น เดินและยกของน้ำหนักปานกลาง
งานหนักหมายถึง งานที่ต้องใช้พลังงาน 350 - 500 Kcal / hr หรือ 1400 - 2000 BTU / hr เช่น การขุด การตัก เป็นต้น
ตารางแสดงค่าพลังงานเผาผลาญอาหาร ( Metabolism ) มาตรฐานที่ใช้ในกิจกรรมการทำงาน


มาตรฐาน OSHA
( Occupational Safety and Health Association )

มาตรฐานระดับเสียงที่อนุญาตให้สัมผัสได้ในระยะเวลาหนึ่ง

Sound Level d B(A)
OSHA * PEL ( hr/ day )
Sound Level d B(A)
OSHA * PEL ( hr/ day )
85
16
101
1.7
86
14
102
1.5
87
12
103
1.4
88
11
104
1.3
89
9
105
1
90
8
106
52 ( minutes)
91
7
107
46( minutes)
92
6.2
108
40( minutes)
93
5.3
109
34( minutes)
94
4.6
110
30( minutes)
95
4
111
26( minutes)
96
3.5
112
23( minutes)
97
3
113
20( minutes)
98
2.8
114
17( minutes)
99
2.3
115
0
100
2
-
-

หมายเหตุ : PEL = Permissible Exposture Limit

มาตรฐานด้านการป้องกันอัคคีภัย

อันตรายจากการทำงานในที่ร้อน

           โรคร้อนอันนี้เอาจริงเอาจังนิดนึง ปรกติร่างกายคนเราจะพยายามรักษาอุณหภูมิไว้ที่ไม่เกิน 36 องศา โดยร่างกายจะขับเหงื่อออกมา ซึ่งการระเหยของน้ำจะลดอุณหภูมิของร่างกายได้ ซึ่งอัตราการระเหยจะขึ้นอยู่กับความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ปรกติเวลาที่อากาศอุณหภูมิสูงถึง 37 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิกระเปาะเปียกอยู่ที่ซัก 30 องศาเซลเซียส นั่นก็คือเหงื่อยังระเหยได้และร่างกายยังสามารถระบายความร้อนออกได้ ซึ่งในสภาพเช่นนี้ เราจะต้องดื่มน้ำเกลือแร่เข้าช่วยชดเชยการสูญเสียเหงื่อ มิฉะนั้นจะมีอาการแทรกซ้อนจากอาการขาดน้ำ (Dehydration) รวมไปถึงการขาดเกลือแร่ ซึ่งอาการขั้นต้น จะมีอาการตาลาย และเกิดอาการเหน็บชา ในกรณีขั้นรุนแรง ผู้ขาดน้ำจะมีอาการง่วง และไม่รู้สึกกระหายน้ำ อย่างไรก็ตาม จากประมาณการสภาพอากาศปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าอากาศของประเทศไทย จะมีการร้อนต่อเนื่องสูงสุดถึง 60 วัน กอปรกับการที่ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อนชื้น มีความเป็นไปได้สูง ที่เราจะพบกับกรณีที่อุณหภูมิปรกติสูงอยู่แล้ว ความชื้นในอากาศยังสูงตามอีก
         ที่ศรีราชาเมื่อปีที่แล้ว ผมเคยจับข้อมูลพบกรณีที่ช่วงอุณหภูมิกระเปาะแห้งสูง 37 องศา (ในร่ม) แถมด้วยอุณหภูมิกระเปาะเปียกถึง 33 องศาในช่วงสั้นๆประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ในสภาพเช่นนี้มีความเป็นไปได้สูงที่ร่างการจะไม่สามารถขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนได้ทันและเกิดสภาพที่เรียกว่า Heat stroke

Heat stroke ที่ผมเรียกง่ายๆว่าโรคร้อน เป็นอาการที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ 
         อาการเบื้องต้นจะมีอาการปวดหัว หน้ามืดจากความดันตก (อาการขาดเกลือ และขาดน้ำมีส่วนร่วมเสมอ) และเลวร้ายที่สุดคือการที่ร่างกายหยุดขับเหงื่อเพราะระบบประสาทรับรู้ทำงานผิดพลาด ในขั้นนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวๆร้อนๆ การหยุดระบายเหงื่อจะทำให้อุณหภูมิร่างกายขึ้นสูงไปถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดอาการสมองตายและเสียชีวิตในที่สุด
 

วิธีการปฐมพยาบาลและรักษา

        ต้องทำการลดอุณหภูมิผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด และส่งโรงพยาบาล การปฐมพยาบาล นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ให้ปลดกระดุมเพื่อระบายความร้อน ใช้น้ำแข็งประคบตามข้อพับต่างๆ เช่นรักแร้ หรืออาจใช้วิธีให้แช่น้ำที่ใส่น้ำแข็งลงไป(ถ้ามีคนมากพอ ซึ่งต้องคอยดูผู้ป่วยตลอดเวลา ไม่งั้นอาจหายจากโรคร้อน และเกิดอาการจมน้ำตายแทนได้)  ถ้ายังรู้สึกตัวอยู่ ให้พยายามดื่มน้ำมากๆ รวมถึงเกลือแร่ด้วย
 

การป้องกัน

         เมื่อต้องทำงานอยู่กลางแดด ให้สวมหมวกปีกสีสดที่สะท้อนแสง (สีขาวดีที่สุด) ดื่มน้ำมากๆ และอย่าทำงานต่อเนื่องกลางแดดเป็นเวลานาน สำหรับโรงงาน และ Site ก่อสร้าง ควรมีการตรวจประเมินอุณหภูมิตลอดเวลา ในกรณีที่อุณหภูมิ Wet Bulb Globe Temperature สูงถึง  32 องศาเซลเซียส ห้ามทำงานเกิน 20 นาทีในพื้นที่นั้นๆ (WBGT คำนวณจาก อุณหภูมิกระเปาะแห้ง x 0.1 + อุณหภูมิกระเปาะเปียก x 0.7 + อุณหภูมิพื้นผิววัตถุสีดำ x 0.2) WBGT ของอุณหภูมิพื้นผิววัตถุสีดำ อาจประมาณได้โดยเอาอุณหภูมิกระเปาะแห้งบวกเข้าไป 10 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิสัมผัสของแสงแดดจะอยู่ประมาณนี้) WBGT ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ครอบคลุม รูปแบบการถ่ายเทความร้อนทั้ง 3 รูปแบบคือ การนำ การพา และการแผ่รังสีครับ ถ้าใครสนใจเชิญสอบถามได้ที่หมวด Request ชองผมนะครับ เพราะเรื่องนี้อธิบายยาว

ข้อพึงระวัง การเกิด Heat stroke สำคัญที่สุดคือความชื้น มีหลายๆคนที่ทำงานในที่ร่มก็เกิด Heat stroke ได้ถ้าในพื้นที่นั้นๆมีความชื้นสูงเช่น การทำงานกับห้องที่มีหม้อต้มน้ำ ในกรณีนี้มีข้อแนะนำให้เพื่มการระบายอากาศในห้องเพื่อนำความชื้นออก
 
การประเมินค่าความร้อน

หลังจากอ่านค่าอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ทั้ง 3 ชนิดแล้วนั้น ให้นำค่าที่อ่านได้มาคำนวณเพื่อประเมินระดับความร้อน โดยใช้สูตร ดังนี้
ในร่มหรือนอกอาคารที่ไม่มีแสงแดด
WBGT = 0.7 NWB + 0.3 GT
นอกอาคารมีแสงแดด
WBGT = 0.7 NWB + 0.2 GT + 0.1 DB
WBGT
NWB
DB
GT
คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสเวทบัลบ์โกลบ (Web bulb globe temperature)คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก (Natural Web bulb globe)คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง (Dry bulb temperature)คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์โกลบ (Globe Temperature)        เมื่อคำนวณว่า WBGT ออกมาได้แล้ว จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน โดยต้องนำลักษณะการปฏิบัติงานของคนงานมาประกอบการพิจารณาด้วย โดยทั่วไปจะแบ่งลักษณะงานออกเป็น 3 ประเภท คือ
งานเบา หมายถึง งานที่ต้องออกกำลังน้อยหรืองานที่ต้องทำโดยใช้พลังงานไม่เกิน 200 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง เช่น งานนั่งคุมเครื่องจักรบังคับด้วยมือหรือเท้า ยืนหยิบชิ้นงานขนาดเล็กเข้าหรือออกจากเครื่องจักร ยืนเดินไปมารอบ ๆ เครื่องจักร นั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์โดยใช้สายตา หรืองานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
งานระดับปานกลาง หมายถึง งานที่ต้องออกกำลังปานกลางหรืองานที่ต้องทำ โดยใช้พลังงาน 201-300 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง เช่น งานยืนเดินไปมารอบ ๆ เครื่องจักร และออกแรงเข็นหรือยกผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้นงานขนาดใหญ่เข้าหรือออกจากเครื่องจักร หรืองานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
งานหนัก หมายถึง งานที่ต้องออกกำลังมากหรืองานที่ต้องทำโดยใช้พลังงานตั้งแต่ 301 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง เช่น ยกของหนัก ขุดหรือตักดิน ทุบโดยใช้ฆ้อนขนาดใหญ่ เลื่อยหรือตอกสลักไม้เนื้อแข็ง ปีนบันไดหรือทางลาดเอียง

 
 
 

หลักในการเลือกใช้สายไฟฟ้า

สายไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่นำส่งกระแสไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง สายไฟฟ้าทำมาจากโลหะทองแดง
ซึ่งเป็น ตัวนำไฟฟ้าที่ดี หุ้มด้วย
ฉนวน


หลักในการเลือกใช้สายไฟฟ้า

1.เลือกซื้อสายที่ได้รัยอนุญาติแสดงเครื่องหมายเครื่องหมายมาตรฐานอุตสหกรรมหรือเครื่องหมาย มอก.
จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม กระทรวงอุตสหกรรม
2.หลีกเลี่ยงการมีจุดต่อสายไฟฟ้าในการเดินสายมากเกินความจำเป็น ถ้าหากมีความจำเป็น
ต้องเลือใช้อุปกรณ์และสายไฟฟ้าให้ถูกต้อง ควรมั่นตรวจสอบจุดต่อสายไฟฟ้าอยู้เป็นประจำปีละ1-2ครั้ง
3.ควรวางแผนการตรวจสอบ เพื่อมทำการเปลี่ยนสายใหม่ หากพบว่าสายไฟมีความผิดปกติเช่น
แตกลายงา มีรอยไหม้ หรือมีการหลอมตัวของฉนวน เนื่องจากความร้อน ให้ทำการเปลี่ยนสายใหม่ทันที
4. หากมีการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น ควรตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ให้เหมาะสม
หากขนาดไม่เพียงพอก็ให้เปลี่ยนสายนไฟฟ้าใหม่ให้มีขนาดเหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

5.เลือกขนาดใช้สายไฟฟ้าให้เหมาะกับขนาดและปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเปรียบเทียบกับตาราง


เบอร์
เส้นผ่า
พื้นที่หน้าตัด
กระแสไฟฟ้าสูงสุด
ที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย
ถ้าใช้เป็นฟิวส์
ทานกระแสได
สายหลายเส้น
สายเดี่ยว
ศูนย์กลาง
mm2
มีฉนวนหุ้ม
ลวดเปลือก
19/12
0
8.23
54.188
125
200
-
19/5
3
6.40
32.768
90
125
-
-
5
5.38
23.155
70
90
-
-
8
4.06
13.026
50
70
-
7/16
10
3.24
8.398
35
50
-
7/18
12
2.64
5.584
25
30
-
7/20
14
2.03
3.296
20
25
232
7/22
16
1.62
2.112
15
20
165

ตัวอย่างการหาขนาดสายไฟฟ้า
    ในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาด2.4กิโลวัตต220 โวลต์ จะต้องใช้สายไฟฟ้าเบอร์อะไร
วิธีทำ จากสูตร
                    I =     P
                                                  E
                            แทนค่า   =   2,400  = 10.9
                                               220 

    จะต้องเพื่อความปลอดภัยไว้ 1.5 เท่า
             จะต้องใช้สายไฟฟ้าที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได10.9 x 1.5 = 16.35 A
    เมื่อเปรียบเทียบกับตารางจะเห็นว่าสายไฟฟ้าที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย คือสาย สายไฟฟ้าเบอร์ 20
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/110/body02.html

สูตรในการเลือกขนาดมอเตอร์ปั๊มน้ำ

1.สูตรในการเลือกขนาดมอเตอร์ปั๊มน้ำ
กำลังที่ปั๊มใช้ในการส่งน้ำออกจากปั๊ม ก็คือกำลังที่ใช้ขับเพลาของปั๊ม มีหน่วยเป็นแรงม้า(Brake Horse Power=BHP)
ส่วนงานที่ได้จากการขับของเพลา ที่อยู่ในรูปของความดัน และความเร็วของน้ำที่ถูกส่งออกเรียกว่า (Liquid Horse Power หรือ Work =WHP )

ฉะนั้น WHP= ปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ (หน่วย U.S แกลลอน/ นาที่ ) x Head ( หน่วย ฟุต ) x Sp.Gr / 3960

เมื่อ U.S แกลลอน หน่วย/นาที
( 1 U.S แกลลอน = 3.7848 ลิตร )
head = ความสูงของน้ำ หน่วยเป็น ฟุต
Sp.Gr = ความถ่วงจำเพาะของน้ำที่ 60 F เท่ากับ 1

ส่วนประสิทธิภาพของปั๊มน้ำ ก็คืองานที่ได้ (WHP) หาร ด้วยงาน
ที่ใส่เข้าไปเพื่อขับเพลา (BHP)
สูตรก็คือ ประสิทธิภาพของปั๊ม = (WHP/ BHP ) x 100
= (หน่วยเป็น % )

ตัวอย่าง : - ปั๊มน้ำมีประสิทธิภาพ 70 % ส่งน้ำได้ 200 U.S gallon/นาที ที่ความสูง 45 ฟุต ต้องใช้กำลังขับ กี่แรงม้า ?

คำนวนหา WHP = 200 x 45 x1 /3960
= 2.27
เมื่อปั๊มมี eff 70% = ( 2.27 /BHP ) x 100
BHP = 3.25 แรงม้า (หรือ 2.43 kW )


2.วิธีที่ 2 เป็นตารางสำเร็จที่เทียบหากำลังม้า(ทางทฤษฎี )ต่อความสูง และอัตราการไหลของน้ำ (จะสแกน เป็น pdf )

3.ส่วนการออกแบบ - การเดินท่อ - หรือข้อควรคำนึง ผมคิดว่าเรา
ไม่ใช่โรงงานขนาดใหญ่ เช่นโรงกลั่น - ปิโตรเคมี ฯลฯ ซึ่งต้องใช้
เทคนิค รายละเอียดและต้องพิจารณาเงื่อนไขมากมาย( คุณสมบัติของ ท่อ วาล์ว แรงเสียดทานของของไหล การหดตัว ขยายตัวของท่อ ฯลฯ ) ซึ่งหลักในการพิจารณาในอันดับต้น ๆของคุณ Pk น่าจะ
ดูที่วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ราคาที่ที่เหมาะสม กับความสามารถในการนำไปใช้งาน ขนาดของท่อที่เหมาะสม การเดินท่อ
ใช้งาน ฯ ลดหรือใช้ข้อต่อ ข้องอเท่าที่จำเป็นเพื่อลดแรงเสียดทานที่
ต้านทานการไหลของน้ำ ตลอดจนการเดินท่อที่ผ่านความร้อนจากแสงแดดทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงและมีผลต่อการนำไปใช้งาน มากกว่า.

4. หน่วยที่ใช้ประกอบ
1 US.แกลลอน = 3.7848 ลิตร
1 เมตร = 3.28083 ฟุต
1 HP (แรงม้า ) = 0.746 kW ( หรือ 746 Watt )
หรือ 1 kW =1.34 HP


ที่มา http://www2.dede.go.th/Wboard

สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์

สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์

ก.สายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ตัวเดียว
       1.สายไฟฟ้าวงจรย่อยที่จ่ายให้มอเตอร์ตัวเดียว ต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ ของกระแสพิกัดโหลดเต็มที่ (Full load Current) ของมอเตอร์ ยกเว้นมอเตอร์หลายความเร็ว (Multispeed Motor) ซึ่งแต่ละตวามเร็วมีพิกัดกระแสต่างกัน ให้ใช้ค่าพิกัดกระแสสูงสุด ซึ่งดูได้จาก แผ่นป้าย (Name Plate)
       2. สายไฟฟ้าของวงจรมอเตอร์ ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.ม สำหรับการกำหนดขนาดสายไฟฟ้าจะต้องดูชนิดและวิธีการเดินสายประกอบด้วย เช่น เดินในท่อหรือเดินลอยในอากาศหรือท่อโลหะ เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 1 จงกำหนดขนาดของกระแสไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส ขนาด 10 แรงม้า
380 โวลท์ 17แอมแปร์
            วิธีทำ
                     ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าต้องไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ของพิกัดกระแสโหลดเต็มที่
                                          =          1.25 ×17
                                          =         21.25 A
                        ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 22 แอมป์แปร

ตัวอย่างที่ 2 จงกำหนดขนาดกระแสของสายไฟฟ้าของมอเตอร์แต่ละตัวและสายป้อนของมอเตอร์ เหนี่ยวนำ 3 เฟสจำนวน 4 ตัว (M1-M4) เริ่มเดินแบบ Direct On Line Starter

   
มอเตอร์ M1 5 แรงม้า 9.2 แอมแปร์ รหัสอักษร B
    มอเตอร์ M2 7.5 แรงม้า 13 แอมแปร์ รหัสอักษร E
    มอเตอร์M3 10 แรงม้า 17 แอมแปร์ รหัสอักษร F
   มอเตอร์M4 15 แรงม้า 25 แอมแปร์ ไม่มีรหัสอักษร

วิธีทำ

ก. กำหนดขนาดสายไฟฟ้าวงจรย่อยมอเตอร์แต่ละตัว
    มอเตอร์ M1 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 9.2 = 11.5 A
    มอเตอร์ M2 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 13  =  16 .25 A
    มอเตอร์ M3 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 17  =   21.25 A
    มอเตอร์ M4 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 25  =    32.25 A

ข. ขนาดสายป้อน

               = (1.25 × 25) +17+13+9.2
           = 70.45
        นั่นคือ ขนาดกระแสของสาไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 71 แอมแปร์
ตัวอย่างที่ 3 จากข้อมูลมอเตอร์ 4 ตัวในตัวอย่างที่2 ถ้าต้องการใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ เป็นเครื่องป้องกัน
การลัดวงจร จงกำหนดขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวและเซอร์กิตเบรกเกอร์ของสายป้อน

       
วิธีทำ
     ก. ขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวพิจารณาตารงที่3
             - M1รหัสอักษร ฺB ไม่เกิน 200 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 200 ×9.2      =   18.4A
                                  100
                 เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 20 แอมแปร์
            - M2รหัสอักษร E ไม่เกิน 200 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 200 × 13    =   26A
                                  100
             เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 30 แอมแปร์
           - M3รหัสอักษรF ไม่เกิน 250 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 250 × 17    =  42.5A
                                  100
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 40 แอมแปร์หรือ 50 แอมแปร์
           
           - M4 ไม่มีรหัสอักษรไม่เกิน 250 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 250 × 25   =  62.5A
                                  100
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 70 แอมแปร์   
      ข.ขนาดเซอร์กิตของสายป้อน

                      = 70 +17+13+9.2 = 109.2
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 100 แอมแปร์
ที่มา : http://edu.e-tech.ac.th/

การคำนวณหาขนาดของมอเตอร์

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบกว.(ทักษะ&ความปลอดภัย)

มีทั้งเฉลยและไม่มีเฉลยนะครับ เป็นแนวทาง
วิชาทักษะ

1. ตัวอักษรไทยและอังกฤษจะเป็นไปตามมาตรฐานอะไร ( มอก 210 – 2520 )
2. การนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาตรตามแนวรัศมี 360 องศาคืออะไร ( แผนภูมิโพล่าร์ Polar Charts )
3. มัธยฐาน คืออะไร ( ค่าที่ตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลที่เรียงจากน้อยไปหามาก )
4. ฐานนิยม คืออะไร ( ค่าจากการสังเกต ของข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด )
5. พิสัย คืออะไร ( ค่าสูงสุด – ต่ำสุด )
6. พันธะโคเวอร์เลนต์ไม่เกิดกับข้อใด ( จุดหลอมเหลวสูง )
7. ฮีสโตแกรม คืออะไร ( การแจกแจงความถี่ข้อมูลโดยใช้กราฟแท่ง )
8. Autocad สั่งพิมพ์ใช้คำสั่งอะไร ( PLOT )
9. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อ แรงปฏิกิริยา ( ปริมาตร )
10. เครื่องดูดฝุ่นขนาด 1000 W ใช้แรงดัน 220 V แรงดันตกเหลือ 200 V กำลังเครื่องดูดฝุ่นเหลือกี่วัตต์ ( 826)
11. พอลีเอทิลีน ( PE ) ใช้ทำอะไร ( ทำภาชนะของเด็กเล่น ) (ท่อประปา)
12. ABS ใช้ทำอะไร ( ทำท่อไฟฟ้า ประปา เครื่องคอม )
13. อีพอคซี่เรซิน ใช้ทำอะไร ( ใช้เคลือบ )
14. PMMA ใช้ทำอะไร ( ใช้ทำกระจกนิรภัย )
15. พอลิสไตรีน ใช้ทำอะไร ( ใช้ทำโฟม อุปกรณ์ไฟฟ้า )
16. PVC. ใช้ทำอะไร ( ใช้ทำท่อ กระดาษ กระเบื้องปูพื้น )
17. ไนล่อนใช้ทำอะไร ( เสื้อผ้า )
18. ประโยชน์ของเทปล่อน ( ทนความร้อน )
19. ดอกสว่านมีส่วนผสมอะไรบ้าง ( ทังสเตนกับ .........)
20. แบบประเภทใดให้รายละเอียดมากที่สุด (....................)
21. เปิดบริษัทรับออกแบบควรใช้ระบบใดจัดการ ( ISO 9001 )
22. ควอนตั้มคืออะไร ( พลังงานปริมาณที่น้อยที่เปล่งออกมาในรูปการแผ่รังสีแม่เหล็ก )
23. ดึงลวดหนามเป็นรูปอะไรจะได้พื้นที่มากสุด (วงกลม )
24. การบริหารด้วยการจูงใจต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ( การให้มีส่วนร่วม , การปรึกษาหารือ , การฝึกอบรม )
25. พื้นที่หน้าตัดลดลง 20 % ถูกแรงดึงเพิ่ม 20 % จะมีผลอย่างไร ( ความยาวเพิ่มขึ้น 1.2 เท่า )
26. Whit Ware Ceramic ใช้ทำอะไร ( ทำถ้วยชาม และเครื่องสุขภัณฑ์ )
27. พิกัดสัดส่วน ( Proportional Limit ) คือ ขีดจำกัดของการแปรผันโดยตรงระหว่างความเค้นกับความเครียด
28. พิกัดยืดหยุ่น ( Elastic Limit ) คือ ขีดจำกัดในการคืนรูปแบบอีลาสติกโดยสมบูรณ์
29. จุดคราก ( Yield Point ) เป็นจุดเริ่มการเปลี่ยนรูปแบบพลาสติก
30. จุดความเค้นสูงสุด ( Ultimate Strength ) คือความเค้นสูงสุดที่วัสดุจะรับได้
31. ความเค้นประลัย ( Rupture Strength ) เป็นจุดที่วัสดุแตกหัก ขาด
32. ประเภทปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานโครงสร้าง ( ประเภท 1 )
33. ประโยชน์ ของกราฟกึ่งล็อกคืออะไร ( ใช้ทางสถิติ )
34. บันทึกการใช้ไฟในแต่ละวัน คือ แผนภูมิโพล่าร์
35. ซื้อที่ดินผิวไม่สม่ำเสมอ คือ ใช้แผนภูมิชั้น
36. รัศมีของวงแหวนคือ .................
37. ปริมาตรทรงกลมคือ .................
38. การเก็บข้อมูลจำแนกได้ 4 วิธี
39. บรอนด์ คือ ทองแดง + ดีบุก
40. การควบคุมที่ไม่ใช่หน้าที่ของสภาวิศวกร ..........................
41. เกี่ยวกับจังหวะ ดูด อัด ระเบิด คาย คือ ...............................
42. ดอกเบี้ยเชิงเดี่ยว คือ 5 ปี
43. ดอกเบี้ยเชิงซ้อน คือ 3 ปี
44. ใช้ขนาดพื้นที่มาตราส่วนใช้กระดาษ A…..
45. ขั้นตอนการเกิดอุบัตเหตุคือ .......................
46. คำนวณค่าไฟคือ......................
47. ขนาดสายดินใช้ขนาดเท่าไร ( 10 มม² )
48. ใช้ภาพสเก็ตซ์เพื่อประโยชน์อะไร ..................................

ความปลอดภัย
1. ลิ้นระบายน้ำทำหน้าที่อย่างไร ( ระบายสิ่งสกปรกทีเป็นตะกอนอยู่ภายในหม้อน้ำออกไปภายนอก )
2. สิ่งที่ทำหน้าที่ระบายหรือลดความดันไอน้ำแรงดันสูง ( ลิ้นนิรภัย )
3. การควบคุมอัคคีภัยทำอย่างไร ( จำกัดแหล่งความร้อน )
4. อันตรายที่เกิดจากเครื่องปั๊ม ( เสียง )
5. เสียงดังเกิน 90 เดซิเบล ป้องกันอย่างไร ( ใส่เครื่องป้องกันอันตราย )
6. ไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย กล้ามเนื้อกระตุกส่วนใด ( บริเวณทรวงอก )
7. วิศวกรความปลอดภัยควรมีคุณสมบัติอย่างไร ( มีประสบการณ์ 5 ปี )
8. คนงานตกนั่งร้านควรทำอย่างไร ........................
9. เครื่องจักรที่ไม่มีกฎหมายควบคุม ( ลิฟท์ชั่วคราว )
10. รับพนักงานเข้าใหม่ทำงานกับสารเคมีควรทำอย่างไร ( จัดให้มีการฝึกการใช้เครื่องป้องกันสารเคมี )
11. คุณสมบัติไฟฟ้ากระแสสลับ ( มีทิศทางกระแสสลับไปมา )
12. ......................มากกว่า 1000 ( สมองตายเฉียบพลัน )
13. สู ญเสียกลไกควบคุมเหงื่อ คือ ( การเป็นตะคริว )
14. ผู้ที่มีหน้าที่สอบสวนหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ( หัวหน้างาน )
15. คุณสมบัติสายรั้งช่วยชีวิต ( รับ นน. ได้เกิน 300 Kg. )
16. อันตรายจากการทำงานกลางแจ้งจะได้รับรังสีชนิดใด ( รังสีเหนือม่วง )
17. การติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราวเป็นอย่างไร ( ติดตั้งตามมาตรฐานเหมือนไฟฟ้าถาวร )
18. เครื่องจักรที่ไม่สามารถติดตั้งการ์ดได้ ( เครื่องรีด )
19. ประตูหนีไฟอาคารสูงมีขนาดเท่าใด ( กว้าง 1.10 m. )
20. สาเหตุการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจรคือ ( ไม่ใส่ฟิวส์ในระบบไฟฟ้า )
21. อันตรายจากเครื่องจักรกลใดที่มีอันตรายที่สุด ( การบด )
22. ใครเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรก่อนการปฏิบัติงาน ( ผู้ปฏิบัติงาน )
23. ....................อัคคีภัยอาคารสูง
24. ระบบการจัดการปั้นจั่นคือ.. ( วางแผนดูแล )
25. ทำอย่างไรนโยบายความปลอดภัยจึงจะไปสู่ผู้ปฏิบัติ ( มอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้อง )
26. การโดยสารลิฟท์ชั่วคราว.........................
27. ดัชนีตัวบ่งชี้อุบัติเหตุคือ ( วันลาหยุด )
28. ข้อควรปฏิบัติในการทำงาน ( กำหนดหน้าที่บุคคลตามความชำนาญ )
29. หัวใจการซ่อมบำรุงคือ ( การซ่อมบำรุงอย่างมีแบบแผน )
30. หน้าที่วิศวกรความปลอดภัยคือ ( ตรวจสอบความปลอดภัย )
31. ความสูญเสียทางตรงของอุบัติเหตุคือ ( ค่ารักษาพยาบาล , ค่าทำศพ , ค่าสินใหมทดแทน )
32. สิ่งที่ทำให้ไฟไหม้เร็วที่สุดคือ ( เชื้อเพลิงเหลว , เป็นฝุ่นละออง )
33. PPE คืออะไร ( อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล )
34. การตรวจวัดสารเคมีในบรรยากาศควรทำกี่เดือน/ครั้ง ( 6 เดือน / ครั้ง )
1. พลาสติกชนิดใดนำมารีไซเคิลไม่ได้ (Thermoset)
2. ข้อใดไม่ใช้ผู้ควบคุมงานที่ดี (เน้นปริมาณ)
3. การวางโครงการพิจารณาอะไรบ้าง ( ง.ถูกทุกข้อ ประกอบด้วยการเงิน การตลาด วิศวกรรม)
4. ISO 9000 เกี่ยวกับอะไร (ระบบคุณภาพ)
5. ISO 9000 เนื้อหาเหมาะสมข้อใด
ง. การตรวจสอบ
6. ภาคีวิศวกรทำข้อใดไม่ได้ (ต่อเติม)
.ไฟฟ้า 800 W แรงดัน 200 V พื้นที่หน้า ตัด XXX สายไฟยาวเท่าไร
2. แท่งคอนกรีตถูกอัดด้วยแรง 10 KN มีหน้าตัด xxx คอนกรีตจะหดตัวเท่าไร
1. ความปลอดภัยหมายถึง สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
2 .ผู้มีหน้าทีด้านความปลอดภัยมี่คุณสมบัติ ผ่านการอบรม
3.เปิดโอกาสให้ พนง.มีส่วนร่วมรณณรงค์ด้านความปลอดภัย ประกวดคำขวัญ
4.ตามความคิดเห็นที่ 36. ( 2 ข้อ )
5.ไม่ควรเก็บสารเคมีไวไฟ ใกล้แหล่งความร้อน
6.การตรวจหม้อน้ำรายปี ต้องตรวจลิ้นนิรภัย
7.ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัย
8.ไม่ใช่ลักษณะที่ดีของเซฟกราด ซ่อมบำรุงง่าย
9.ผู้สอบสวนหาสาเหตุ หัวหน้างาน
10.เมื่อถูกไฟฟ้าดูด กล้าเนื้อกระตุกหรือหดตัว
11.รถแทรกเตอร์ไถดินเป็นสาเหตุให้เสาเข็มที่ตอกไว้แล้วหนีศูนย์
12.นน.จรบนนั่งร้าน ลมพายุ
13.เครื่องเจาะคอนกรีต เกิดการสั่นสะเทือนตลอดเวลา
14.ใส่แว่นขณะเจาะพื้น ป้องกันรังสีและเศษปูนกระเดน
15.การป้องกันท่อที่มีความร้อน ใช้ฉนวนหุ้มท่อ (ป้องกันที่แหล่งกำเนิด )
16.รังสีมีผลกระทบต่อหญิงมีครรห์ในช่วงเดือน 2-3 เดือน

ข้อสอบทักษะจัดไป
1.ข้อใดไม่เกิดกับพันธะโควาเลนท์ ตอบ :ที่ตอบกันมาไม่ถูกสักทีเดียวพันะโวเลนท์ความจริงมีทั้งจุดหลอมเหลวสูงและต่ำคือแบบที่มีผลึกแบบตาข่ายจะมีจุดหลอมเหลวสูงครับเช่น เพชร ส่วนแบบอื่นจะมีจุดหลอมเหลวต่ำ เป็นได้ทั้งก๊าซและของแข็ง ในข้อสอบจะมีอยู่จุดนึงที่จะไม่เกิดกับพันธะนี้แน่นอนในข้อสอบคือ ข้อที่ตอบว่าสามารถนำไฟฟ้าได้ดี นั่นแหละครับ ไม่เกิดแน่นอน เนื่องจาก พันธะนี้จะเกิดกับ อโลหะ-อโลหะ จึงไม่นำไฟฟ้า ชัวร์ๆ
2.ค่ามัฐยฐาน ของข้อมูลที่ให้มา 5 ข้อมูล คือข้อใด ตอบ: ให้เรียงข้อมูลที่ให้มาจากน้อยไปหามาก ค่ากึ่งกลางนั่นแหละครับค่ามัฐยฐานของข้อมูล
3.Whit Ware Ceramic ใช้ทำอะไร ( ทำถ้วยชาม และเครื่องสุขภัณฑ์ )
4.ถ้าบริษัททำธุรกิจด้านออกแบบควรใช้ระบบจัดการใด ตอบ: iso 9001
5.ข้อที่คำนวนยากๆก็ข้อ กระแสไหล...แอมป์...ผ่านตัวนำ 4 vm/mให้หาเส้นผ่าศูนย์กลางลวดตัวนำอะไรประมาณนี้ ตอบ: 1.73x10ยกกำลัง -4 ไปดูใน CD วัสดุวิศวกรรมที่เขาให้มาออกเหมือนในตัวอย่างคำตอบเดียวกันเดะ ไม่ต้องไปคิดให้เสียเวลา ตามตัวอย่างใน Cd นั่นแหละ
6.สายดินมาตรฐานขั้นต่ำที่ เบอร์ 10 ครับ
7.แบบ 3 มิติที่มีจุดรวมสายตาในภาพ ตอบ:คือ Perspective
8.ข้อใดไม่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา ตอบ :ปริมาตรของสารตั้งต้น
9.อควอนตัมคืออะไร ตอบ:พลังงานปริมาณที่น้อยที่เปล่งออกมาในรูปการแผ่รังสีแม่เหล็ก
10.การนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาตรตามแนวรัศมี 360 องศาคืออะไร ( แผนภูมิโพล่าร์ Polar Charts )
11.ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานโครงสร้างทั่วไปคือประเภทใด ตอบ: ประเภท 1
12.คำสั่งพิมพ์ ในโปรแกรม AUTO CAD ตอบ: PLOT
13.ลวดหนามความยาวเท่ากันทำเป็นรุปอะไรจึงจะได้พื้นที่มากที่สุด ตอบ: วงกลม
14.ตัวอักษรไทยและอังกฤษจะเป็นไปตามมาตรฐานอะไร ( มอก 210 – 2520 )
15.สมการ
X1 X2 X3 =0
X1 X2 X3 =0
X1 X2 X3 =0
เป็นคำตอบแบบใด ตอบ: น่าจะแบบ uniq... solution ข้อนี้ไม่แน่ใจหาเพิ่มนะครับ
16.ค่าความแข็งแรงสูงสุดของโลหะที่มีผลต่อการเปลี่ยนรูปอย่างถาวร ตอบ : Yield Steng ใน cd วัสดุวิศวกรรมครับบอกไว้ตรงๆอย่างไปสับสนกับ Untimatt Steng ละ
17.ค่าแสดงถึงความแข็งแรงสูงสุดของวัสดุก่อนจุดแตกหัก ตอบ: Untimatt Steng

แค่นี้ก่อนนะ สอบทักษะอย่าลืมปริ้นในซีดี เรื่องวัสดุวิศวกรรม กับเคมี ไปด้วยละออกหลายอยู่

ข้อสอบวิชาทักษะ

1. การเขียนตัวเลขและอักษรมาตรฐานสากลจะเขียนด้วยตัวอักษรแบบใด (แบบกอทิค)
2. ข้อใดไม่จัดอยู่ในรายงานทางวิชาการ (ปัญหา)
3. เงินเดือนวิศวกร 3 กลุ่ม ไฟฟ้า , เครื่องกล ,โยธา (ประมาณ 33,517 บาท)
4. ข้อใดคือเวกเตอร์ (งาน,โมเมนต์)
5. รถวิ่งด้วยความเร็ว 20 km/hr หยุดนิ่งด้วยเวลาจะใช้ระยะหยุดเท่าไหร่ (6.5 เมตร)
6. ข้อใดเกี่ยวกับความดันบรรยากาศ (ความดัน 1 บรรยากาศอยูที่อุณหภูมิ 273 K หรือ 0 C)
7. เมื่อปูนกับน้ำผสมกันจะเกิดปฏิกิริยาใด (ไฮเดรชั่น)
8. วัสดุใดสามารถทนความร้อนได้ 300 C (Teflon)
9. วัสดุใดใช้เคลือบวัสดุ (อีฟอกซี่ , เรซิ่น)
10. ไม้อัดพิเศษคือ (เสี้ยนไม้ขนานกันและไม่เป็นมุมฉาก)
11. ฝากเงินต้น 1,000 บาท ดอกเบี้ย 14 % นาน 3 ปี คิดดอกเบี้ยเชิงเดี่ยว (1,420 บาท)
12. ผู้ที่สามารถทำงานให้คำปรึกษาการก่อสร้าง (วุฒิวิศวกร)
13. ความหมายของสายละลายบัพเฟอร์ (หาเอง)
14. การควบคุมงานที่ผู้รับเหมาไม่ได้มีส่วนในการดำเนินการ (ประเมินราคา)
15. แผนภูมิใดสามารถแสดง 3 ตัวแปรในแผนภูมิเดียว (แผนภูมิสามแกน(Trilinear Chart))

ข้อสอบวิชากฎหมาย

1. ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ (ถูกทุกข้อ)
2. มีเหตุการณ์มาให้ (กฎหมายวิศวกร)
3. ผู้มีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดทิศทางและอนาคตของสภาวิศวกรโดยตรง (สมาชิกสามัญ)
4. การอุธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องทำภายในเวลากี่วัน (30 วัน นับจากวันที่รับคำสั่ง)
5. ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล (ถูกทุกข้อ)
6. ห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กต่ำกว่า (15ปีเป็นลูกจ้าง)
7. ห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กต่ำกว่ากี่ปีเมื่อทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด (18ปี)
8. การขออนุญาตจัดสรรที่ดินมีสิทธิ์อุธรณ์ต่อ (จัดสรรที่ดินกลาง)
9. สถานที่เฉพาะ (ตู้โทรศัพท์สาธารณะ,ป้ายโฆษณา,ไฟจราจร)
10. การขุดดินที่ป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง (25 เมตร)
11. ทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์)
12. ที่จอดรถยนต์ 1 คันเท่ากับ (60 ตร.ม.)
13. การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า (การไฟฟ้านครหลวง)
14. ประเภทโครงการและกิจการโรงแรม (โรงแรม 80 ห้อง)

ข้อสอบวิชาความปลอดภัย

1. ความปลอดภัยคือ (การควบคุมความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุจากอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วย)
2. การควบคุมเพลิงไหม้ (ควบคุมเชื้อเพลิงและความร้อน)
3. ระบบการจัดการความปลอดภัย (ไม่เกี่ยวกับบทลงโทษ)
4. การกำหนดนโยบายความปลอดภัยให้พนักงานมีส่วนร่วม (แนะนำพนักงาน)
5. จุดอันตรายของเครื่องจักร (เพลา)
6. เซฟการ์ด (ติดตั้งไว้ป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ)
7. ความพร้อมพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับปั่นจั่นอยู่กับที่ (ติดตั้งสัญญาณเสียงและแสง เตือนให้ผู้อื่นทราบขณะใช้งาน)
8. ผู้ควบคุมการใช้ปั่นจั่น (ผ่านการอบรมและทดสอบผู้ควบคุม)
9. ระบบการทำงานของหม้อน้ำ (เชื้อเพลิง,อากาศ,น้ำ)
10. หัวฉีด(Burner) (การเผาไหม้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น)
11. กล้ามเนื้อกระตุกหรือเกิดการหดตัวมากที่สุด (ทรวงอก)
12. การใช้สายไฟฟ้าเล็กเกินไปทำให้เกิด (ถ้าใช้งานเกินกำลังจะทำให้เกิดความร้อนมากกว่าปกติ)
13. อันตรายจากการเจาะรูขนาดใหญ่ (เกิดการพังทลาย)
14. ไม่ใช่เครื่องจักรในงานวิศวกรรม (เครื่องปั๊มน้ำ)
15. สาเหตุที่ทำให้ปั่นจั่นล้ม (เบรกไม่ได้)
16. การทำนั่งร้าน(ออกแบบนั่งร้าน,การสร้างฐานนั่งร้าน,การใช้งานนั่งร้าน)
17. หลักการของเครื่องตัดไฟฟ้ารั่ว (หาเอง)
18. เรียงลำดับจากเสียง (ต้นตอของเสียง,ทางที่เสียงผ่าน,ไปยังพนักงาน)
19. อันตรายเสียง (ความถี่เสียง)
20. คุณสมบัติของก๊าซ (ถูกทุกข้อ)
21. สารพิษหมายถึง (หาเอง)
22. ข้อบังคับของนั่งร้าน (รับน้ำหนักไม่เกิน 2 เท่า)
23. ความพร้อมในการทำงานของร่างกาย (37 C)

ข้อสอบวิชาจรรยาบรรณ

1. เน้นถูกทุกข้อ
2. หน้าที่วุฒิวิศวกร (ทำได้ทุอย่างมีและมีความรู้ทางวิศวกรรมทุกสาขา)
3. มาตรฐานไทยสู่สากล (เน้นเรื่องการยอมรับสู่สากล)

ข้อสอบวิชาสิ่งแวดล้อม

1. เน้นดูตารางEIAและตารางIEE
2. มาตรการมี 3 ข้อ (ป้องกัน,แก้ไข.ชดเชย)
3. การประชุม Earth Summit (ริโอเดอจานเนโร ประเทศบราซิล)
4. Environmental Quality Monitoring คือ (หาเอง)

หมาเหตุ เน้นดูหนังสือเล่มเหลืองและ sheet ที่แจกวันที่ไปอบรม ส่วนกรณีศึกษาของวิชาจรรยาบรรณไม่ต้องดูมากออกสอบน้อย

มังกรรักษาวาจา เร่งปิดโรงงานเก่านับพัน

               เอ เอฟพี-ขณะนี้จีน กำลังเร่งทำงานแข่งกับเวลาสุดชีวิตเพื่อบรรลุคำสัญญาลดการบริโภคพลังงานภาย ในปีนี้ โดยในเดือนที่ผ่านมา ได้สั่งปิดกลุ่มโรงงานที่ปล่อยมลพิษสูง

              สืบ เนื่องจาก รัฐบาลจีนประกาศคำมั่นว่าจะตัดลดการบริโภคพลังงานต่อหน่วยจีดีพี ร้อยละ 20 ระหว่างปี 2549-2553 โดยขณะนี้จีนซึ่งเป็นหนึ่งในชาติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก กำลังระดมวิธีการต่างๆเพื่อลดมลพิษ และทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม ที่วอดวายจากการพัฒนาเศรษฐกิจลูกเดียวในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

            จาก ข้อมูลของหน่วยงานรัฐจีน ส่อเค้าว่าจีน ซึ่งได้ลั่นวาจาหยุดยั้งการแพร่กระจายความร้อน และพัฒนาพลังงานทางเลือก จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายฯได้ทันเส้นตายที่กำหนดไว้ปลายปีนี้ ซึ่งจะทำให้ชาติที่รักหน้าตาอย่างจีนต้องเสียหน้าอย่างมาก

          ใน เดือนนี้ จีนได้สั่งการให้บริษัท 2,087 ราย ที่ผลิตเหล็ก ถ่านหิน ซีเมนต์ อลูมินัม กระจก และวัตถุดิบอื่นๆ ปิดโรงงานที่เก่าและล้าสมัยภายในเดือนกันยายนนี้ หรือมิฉะนั้น ก็อาจถูกแช่แข็งเงินกู้ และตัดไฟฟ้า

         เมื่อ เร็วๆนี้มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้สั่งตัดไฟโรงงาน กว่า 500 แห่ง ในมณฑลอันฮุย เป็นเวลา 1 เดือน โทษฐานล้มเหลวในการลดการแพร่กระจายความร้อนตามเป้าหมาย

        อย่าง ไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้สั่งปิดโรงงานที่ล้มเหลวฯเหล่านี้ เพียงไม่กี่สิบแห่ง นอกนั้นถูกสั่งงระงับการผลิตบางส่วนเท่านั้น

       ก่อน การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกที่กรุงโคเฮนเฮเกนใน ปีที่แล้ว จีนประกาศลดความเข้มของก๊าซคาร์บอน (carbon intensity) ซึ่งเป็นมาตรวัดการแพร่กระจายความร้อนต่อหน่วยกิจกรรมเศรษฐกิจ ลดลงร้อยละ 40-45 เทียบกับระดับเมื่อปี 2548 ให้ได้ภายในปี 2563

       จีน ได้จัดสรรงบประมาณ 738,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับโครงการพัฒนาพลังงานสะอาดในช่วง 10 ปี ข้างหน้า นอกจากนี้ จะยังหาวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายการใช้พลังงานร้อยละ 15 จากแหล่งพลังงานทดแทน ได้แก่ พลังงานลม และพลังงานน้ำเป็นหลัก ภายในปี 2563

       ทั้ง นี้ จีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการเจรจาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศรอบพิเศษในเดือน ตุลาคม ก่อนที่จะมีการประชุมสุดยอดว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของยูเอ็นที่ เม็กซิโกปลายปีนี้ โดยขณะนี้นานาชาติกำลังระดมความคิดเสนอระบบและข้อตกลงลดความร้อนโลก ขึ้นมาแทนที่พิธีสารเกียวโต ที่จะหมดอายุลงในสองปีนี้(2555) ทั้งนี้ พิธีสารเกียวโต เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ระบุเป้าหมายการลดการแพร่กระจายร้อน ซึ่งมีพันธะผูกพัน

        "หาก จีนล้มเหลวในการบรรลุ เป้าหมายในปีนี้ โดยมีส่วนต่างกว้างมาก จีนก็จะเสียความน่าเชื่อถือด้านการรักษาสัญญาแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ อากาศ และจะสร้างความเคลือบแครงสงสัยแก่นานาชาติ" Damien Ma นักวิเคราะห์ แห่ง Eurasia Group ในนิวยอร์ก ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยความเสี่ยงทางการเมือง
ที่มา www.manager.co.th วันที่ 24 ส.ค. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การกำหนดกำลังไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ควรติดตั้ง

การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector)

การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันต้องติดต้งในตำแหน่งที่สามารถตรวจจับควันได้สะดวก และไม่ถูกกีดขวาง อุปกรณ์ตรวจจับควันจะมีปฏิกริยาตอบสนองหรือทำงานเมื่อควันลอยมากระทบ และเข้าไปยังส่วนตรวจจับควันของอุปกรณ์ตรวจจับควัน ฉนั้นการกำหนดจุดหรือตำแหน่งมีความสำคัญมาก ในการออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ต้องวิเคราะห์ถึงตำแหน่งที่มีโอกาศเกิดเพลิงไหม้ วิเคาระห์ถึงการเคลื่อนตัวของควัน วิเคราะห์ถึงการเบียงเบนของควันจากทิศทางลม การระบายอากาศ สภาพผิวเพดาน รูปร่างเพดาน ความสูงของการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ระยะห่าง และความสูงที่จะกล่าวต่อไปเป็นเพียงระยะมากสุดที่สามารถติดตั้งได้ในสภาพปกติเท่านั้น ในบางกรณีที่ต้องการความแม่นยำอาดต้องทำการติดทดสอบในสภานที่จริงร่วมด้วย
         
ก่อนเริ่มเราจะต้องมารู้จัก ควันไฟกันก่อน คือ อากาศร้อนจากควันลอยสูงขึ้นไปในแนวดิ่ง และจะหยุดลอยตัวเมื่ออุณหภูมิของควันเย็นตัวลงเท่ากับอุณหภูมิของอากาศรอบข้าง ฉะนั้นในในบริเวณที่มีเพดานสูงอาดต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันในระดับต่ำเพื่อให้ควันลอยไปถึงอุปกรณ์ได้ หรือติดตั้งให้ต่ำกว่าหลังคาที่มีอุณหภูมิสูง
ความสูงในการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน
          สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดจุด ต้องติดตั้งในตำแหน่งความสูงไม่เกิน 10.5 เมตร และห่างจากเพดานลงมา ประมาณ 25 มิลลิเมตร ถึง 270 มิลลิเมตร
         
สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดลำแสง ต้องติดตั้งในตำแหน่งความสูงไม่เกิน 25 เมตร และห่างจากเพดานลงมา ประมาณ 300 มิลลิเมตร ถึง 750 มิลลิเมตร (ต้องระวังตัวรับลำแสงถูกบดบัง หรือแสงจ้าซึ่งอาดทำให้การทำงานติดพลาดได้)

 
ตาราง ตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน

       ความสูงที่ติดตั้ง        
ระยะห่างจากฝ้าเพดาน หรือหลังคาไม่น้อยกว่า (มิลลิเมตร)
(เมตร)
       อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง       
อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด
3.5
300
25
4.0
300
40
6.0
300
100
8.0
300
175
10.0
350
250
10.5
360
270
12.0
400
-
14.0
450
-
16.0
500
-
18.0
550
-
20.0
600
-
22.0
650
-
24.0
700
-
25.0
750
-


ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด
    
สำหรับเพดานหรือพื้นผิวเรียบ
          ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยกันเองไม่เกิน 9.0 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 4.5 เมตร
          
กรณีติดตั้งในทางเดินกว้างไม่เกิน 3.6 เมตร ระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยกันเองไม่เกิน 12.0 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 6.0 เมตร
      
สำหรับเพดานหรือพื้นผิวเอียง
         
สำหรับฝ้าเพดานเอียงมากกว่า 1:20 การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ในด้านแนวยาวขนานจั่ว แถวยอดจั่ว ห่างกันไม่เกิน 9.0 เมตร
          
สำหรับฝ้าเพดานเอียงมากกว่า 1:20 การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ในด้านแนวยาวขนานจั่ว แถวริมชายคา ห่างกันไม่เกิน 18.0 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 9.0 เมตร
          
สำหรับฝ้าเพดานเอียงมากกว่า 1:20 การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ในด้านแนวยาวขนานจั่ว แถวระหว่างยอดจั่ว กับ ริมชายคา ห่างกันไม่เกิน 18.0 เมตร และระยะห่างระหว่างแถวไม่เกิน 9.0 เมตร
      
ระยะห่างจากผนัง เนื่องจากบริเวณที่ผนังชนกับ เพดานจะเกิดจุดอับอากาศขึ้น
           อุปกรณ์ตรวจจับควันต้องติดตั้งห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 4.5 เมตร กรณีมีผนังกั้นแต่ไม่ชนเพดาน แต่ห่างไม่เกิน 300 มิลลิเมตร ให้ถือเสมือนเป็นผนังชนเพดาน
     
ระยะห่างจากหัวจ่ายลม
          
ต้องติดต้งอุปกรณ์จับควันห่างจากหัวจ่ายลมไม่น้อยกว่า 400 มิลลิเมตร
     
ระยะห่างสำหรับพื้นที่ ที่มีอัตราการระบายอากาศสูง ( 15 Airchange / 1 hour)           ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยกันเองไม่เกิน 6.3 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 3.15 เมตร (ในกรณีความเร็วลมเกิน 3 เมตร/วินาที จะต้องลดระยะลง โดยคำนวณเป็นพิเศษ)
      
ระยะห่างในพื้นที่มีสิ่งกีดขวางการไหลของควัน (เช่นบริเวณพื้นที่มีคานมาบล็อกเป็นช่องๆเป็นต้น)
           
กรณีพื้นที่เพดานสูงเกิน 2.0 เมตร แต่ไม่เกิน 4.0 เมตร มีคานยื่นลงมาไม่เกิน 300 มิลลิเมตร
                
กรณ๊พื้นที่ว่างระหว่างร่องคาน ไม่เกิน 4 ตารางเมตร ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์จับควัน ไม่เกิน 6.3 เมตร ห่างผนังไม่กิน 3.15 เมตร โดย จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ติดตั้งอุปกรณ์จับควันบริเวณใต้คาน
                
กรณ๊พื้นที่ว่างระหว่างร่องคาน เกิน 4 ตารางเมตร ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์จับควัน ไม่เกิน 9.0 เมตร ห่างผนังไม่กิน 4.5 เมตร แต่ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันไว้ที่พื้นแทน ที่จะติดตั้งไว้ที่คานดังกรณ๊ด้านบน
            
กรณีพื้นที่เพดานสูงเกิน 4.0 เมตร มีคานยื่นลงมาไม่เกิน 100 มิลลิเมตร
                  
ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยกันเองไม่เกิน 9.0 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 4.5 เมตร โดยติดตั้งไว้ใต้คาน แต่ถ้าระยะห่างระหว่างคานเกินกว่า 9.0 เมตรจะต้องติดตั้งอุปกรณ์จับควันที่เพดาน บริเวณระหว่างคานเพิ่มอีกหนึ่งตัว