วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

ความเป็นพิษเรื้อรัง ของสารพิษ

ค่าระบุความเป็นพิษแบบเรื้อรับ
       – ความเข้มข้นสูงสุดของสารมลพิษอากาศชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ที่คนงานในอุตสาหกรรมที่มีสุขภาพสมบูรณ์สามารถรับได้ทุกๆ วันไม่เกิน 8hr โดยไม่มีผลร้าย
       -TWA (Time Weighted Average) – ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารปนเปื้อนโดยน้ำหนักเวลา กำหนดว่าได้ทำงาน 8 hr หรือ 40hr/wk
 
TLV (Threshold Limit Value)

สรุป ประกาศประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

ประกาศกระทรวงมหาดไทย 2 ฉบับดังนี้
1 ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
2 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม

1 ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
หมวด 1 การใช้เครื่องจักรทั่วไป
  • ข้อ2 ให้จัดให้ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรสวม หมวก แว่นตา ถุงมือ เครื่องป้องกันเสียง รองเท้ายางหุ้มส้น หรือเครื่องป้องกันอันตรายอื่นๆ ตามสภาพและลักษณะงาน และให้ถือเป็นระเบียบการปฏิบัติงานของสถานประกอบการ

  • ข้อ3 ให้ดูแลให้สวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อย รัดกุม ไม่ขาดรุ่งริ่ง ในกรณีทำงานกับไฟฟ้าต้องไม่เปียก

  • ข้อ5 ให้จัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรดังนี้
    (1) เครื่องจักรที่มีพลังงานไฟฟ้าต้องมีสายดิน
    (7) เครื่องจักรอัตโนมัติ ต้องมีเครื่องหมายเปิด ปิดที่เป็นสากล และมีเครื่องป้องกันสิ่งใดที่จะกระทบสวิตซ์โดยไม่ตั้งใจ
    (8) เครื่องจักรที่มีการถ่ายทอดพลังงาน ต้องมีตะแกรงเหล็กเหนียวครอบส่วนที่หมุนได้และส่วนถ่ายกำลังอย่างมิดชิด
    (9) ใบเลื่อยวงเดือนที่ใช้กับเครื่องจักรต้องมีที่ครอบใบเลื่อย
    (10) เครื่องจักรที่ใช้เป็นเครื่องลับ ฝน หรือแต่งผิวโลหะ ต้องมีเครื่องปิดบังประกายไฟหรือเศษวัสดุขณะใช้งาน

  • ข้อ6 การติดตั้งหรือซ่อมแซมให้ทำป้ายปิดประกาศ ณ บริเวณซ่อมและแขวนป้ายห้ามที่สวิตซ์

  • ข้อ7 ให้มีการดูแลเครื่องจักรกลดังต่อไปนี้
    (3) ไม่นำรถยก รถปั้นจั่น หรือเครื่องมือสำหรับยกอื่นๆ ไปใช้งานใกล้กับสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า เว้นแต่
    - ก. มีแผงกั้น
    - ข.เครื่องกลนั้นมีการต่อสายดิน
    - ค. มีฉนวนหุ้มอย่างดี
    - ง. ใช้มาตรการความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักรกลเช่นเดียวกับว่ามีกระแสไฟฟ้าอยู่

  • ข้อ8 ห้ามใช้เครื่องมือกลเกินพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนดไว้

  • ข้อ9 ให้จัดให้มีทางเดินเข้าออกระหว่างเครื่องจักร จากที่สำหรับการปฏิบัติงาน มีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม.

  • ข้อ10 ให้ทำรั้ว คอกกั้นหรือเส้นแสดงเขตอันตราย ณ ที่ตั้งของเครื่องจักรหรือเขตของเครื่องจักรที่อาจเกิดอันตราย




  • 2 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม
    หมวด 1 ความร้อน

  • ข้อ2 สภาพความร้อนของที่ทำงานต้องไม่ทำให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ทำงานสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส

  • ข้อ3 กรณีที่สภาพความร้อนในที่ทำงานทำให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ปฏิบัติงานสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส ให้ทำการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน หากปรับปรุงไม่ได้ ต้องจัดให้มีเครื่องป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของร่างกายสูง เกินกว่ากำหนด

  • ข้อ4 กรณีอุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียสในหยุดพักจนกว่าอุณหภูมิร่างกายจะปกติ

  • ข้อ5 ให้ปิดประกาศเตือนให้ทราบถึงแหล่งกำเนิดความร้อนที่เป็นอันตราย ข้อ6 ให้จัด ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมชุดแต่งกาย รองเท้าและถุงมือกันความร้อนในแหล่งกำเนิดความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส หมวด 2 แสงสว่าง

  • ข้อ7ภายในสถานประกอบการที่ให้ลูกจ้างทำงานดังต่อไปนี้
    (1) งานไม่ต้องการความละเอียด เช่น การขนย้าย การบรรจุ การบด การเกลี่ยวัตถุชนิดหยาบเป็นต้น ต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์
    (2) งานที่ต้องการความละเอียดน้อยเช่น การผลิตหรือการประกอบชิ้นงานอย่างหยาบๆ การสีข้าว การสางฝ้าย หรือการปฏิบัติงานขั้นแรกในกระบวนการอุตสาหกรรมต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์

  • ข้อ8 ที่ๆให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงาน ดังต่อไปนี้
    (1) งานที่มีความละเอียดปานกลาง เช่น การเย็บผ้า การเย็บหนัง การประกอบภาชนะเป็นต้นต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์
    (2) งานที่ต้องการความละเอียดสูงกว่าข้อ 1 แต่น้อยกว่าข้อ3 เช่น การกลึงหรือแต่งไส การซ่อมแซมเครื่องจักร การตรวจตราและการทดสอบผลิตภัณฑ์ การตกแต่งหนังและผ้าฝ้าย การทอผ้าเป็นต้นต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 300 ลักซ์
    (3) งานที่ต้องการความละเอียดมากเป็นพิเศษและต้องทำงานเป็นเวลานาน เช่นการประกอบเครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก นาฬิกา การเจียรนัยเพชร พลอย การเย็บผ้าที่มีสีมืดทึบเป็นต้นต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 1000 ลักซ์

  • ข้อ9 ถนนและทางเดินนอกอาคารต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 20 ลักซ์

  • ข้อ10 ในโกดังหรือห้องเก็บวัสดุ ทางเดิน เฉลียงและบันได ต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์

  • ข้อ11 ให้มีการป้องกันไม่ให้มีแสงตรงหรือแสงสะท้อนของอาทิตย์หรือเครื่องกำเนิดแสงจ้าส่องเข้าตาในขณะทำงาน หากไม่สามารถป้องกันได้ให้สวมใส่แว่นตา หรือกระบังลดแสง

  • ข้อ12 การทำงานในถ้ำ อุโมงค์ หรือในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ให้สวมหมวกแข็งที่มีอุปกรณ์ส่องสว่างตลอดเวลาที่ทำงาน หมวด 3 เสียง

  • ข้อ13 ภายในสถานประกอบการที่ลูกจ้างทำงานดังต่อไปนี้
    - ไม่เกินวันละเจ็ดชั่วโมงต้องมีระดับเสียงดังติดต่อกันไม่เกิน 91เดซิเบล(เอ)
    - เกินวันละเจ็ดชั่วโมงแต่ไม่เกิน 8ชั่วโมงต้องมีระดับเสียงดังติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล(เอ)
    - เกินวันละแปดชั่วโมงต้องมีระดับเสียงดังติดต่อกันไม่เกิน 80เดซิเบล(เอ)

  • ข้อ14 ห้ามลูกจ้างทำงานในที่ที่มีระดับเสียงดังเกิน 140 เดซิเบล(เอ)

  • ข้อ15 หากระดับเสียงดังเกินในข้อ13 ให้ทำการปรับปรุงแก้ไขที่ต้นกำเนิดของเสียง

  • ข้อ16 หากไม่สามารถแก้ไขดังข้อที่ 15 ได้ให้จัดให้มีการสวมใส่ปลั๊กลดเสียงหรือที่ครอบหูลดเสียง ตลอดเวลาการทำงาน หมวด 4 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองอันตรายส่วนบุคคล

  • ข้อ18 ปลั๊กลดเสียง ต้องทำด้วย พลาสติก หรือยางหรือวัตถุอื่น ใช้ใส่ช่องหูทั้งสองข้าง ต้องสามารถลดระดับเสียงได้ไม่น้อยกว่า 15 เดซิเบล(เอ)

  • ข้อ19 ครอบหูลดเสียง ต้องทำด้วย พลาสติก หรือยางหรือวัตถุอื่น ใช้ใส่ช่องหูทั้งสองข้าง ต้องสามารถลดระดับเสียงได้ไม่น้อยกว่า 25 เดซิเบล(เอ)



  •    แหล่งข้อมูล  http://www.4uengineer.com/

    เอกสาร SDS คืออะไร

    เอกสารข้อมูลความปลอดภัย หรือ SDS คืออะไร คือเอกสารที่แสดงข้อมูลเฉพาะของสารเคมีแต่ละตัวเกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยข้อมูลที่แสดงในเอกสารต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
                ผู้ที่ใช้หรือเกี่ยวข้องกับสารเคมีคงเคยได้ยิน คำว่า เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี หรือ MSDS (Material Safety Data Sheet) มาบ้างพอสมควร แต่ปัจจุบันนี้เมื่อสืบค้นเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีจากอินเทอร์เน็ต ในแหล่งข้อมูลบางแห่งก็อาจจะใช้คำว่า SDS (Safety Data Sheet) ขณะที่บางแห่งใช้ MSDS ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมจึงเรียกชื่อต่างกัน และสองคำนี้มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

                ความจริงแล้วไม่ว่าจะเรียก  MSDS หรือ SDS ก็มีความหมายอย่างเดียวกันคือ เป็นเอกสารที่ให้ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี เพียงแต่ว่าในบางกลุ่มประเทศอาจจะเรียกชื่อต่างกันไป เช่น

                -  องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization, ILO) และที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development, UNCED) ตลอดจนอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เรียก MSDS (Material Safety Data Sheet)

                -  กลุ่มสหภาพยุโรป เรียก SDS  (Safety Data Sheet)

                -  ประเทศมาเลเซีย เรียก  CSDS (Chemical Safety Data Sheet)

                ปัจจุบันนี้ ตามประกาศของสหประชาชาติ เรื่องระบบการจำแนกและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (The Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals, GHS) กำหนดให้เรียก SDS (Safety Data Sheet) เพียงอย่างเดียว เพื่อให้สอดคล้องและเป็นระบบเดียวกัน

    แหล่งอ้างอิง :
    ขวัญนภัส สรโชติ, รดาวรรณ ศิลปโภชนากุล และวราพรรณ ด่านอุตรา. เอกสารข้อมูลความปลอดภัย Safety Data Sheets . กรุงเทพมหานคร:  จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, 2550.

    safety engineering

    วิศวกรรมความปลอดภัยเรียนเพื่ออะไร  
    วิศวกรรมความปลอดภัย (Safety Engineer)
                   วิศวกรรมความปลอดภัย (Safety Engineer) เป็นวิชาการที่มุ่งศึกษาการจัดการระบบการผลิตในอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของอุปกรณ์การผลิต การติดตั้ง ขั้นตอนและวิธีการทำงาน การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ในเชิงคณิตศาสตร์

                    ดังนั้น วิศวกรผู้มีหน้าที่ออกแบบการทำงานจะต้องพยายามศึกษาปฎิกิริยาระหว่างคนกับเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมใดๆ เพื่อที่จะออกแบบเครื่องจักรหรือจัดสภาพแวดล้อมนั้นให้มีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของคนมากที่สุด และเมื่อมีการพิจารณาถึงมาตรการลดความสูญเสียต่างๆ เช่น การควบคุมความปลอดภัย ก็อาจสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ การควบคุมที่แหล่งกำเนิด การควบคุมที่ตัวกลาง และการควบคุมที่เป้าหมายหรือมนุษย์
                   วิศวกรรมความปลอดภัย (Safety Engineering) คือการออกแบบเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ซึ่งเป็นวิธีการที่ยอดเยี่ยมสำหรับการควบคุมอุบัติเหตุ เพราะเป็นวิธีที่กำจัดอันตรายออกไปก่อนที่จะเกิดการสัมผัส ดังนั้นจึงเป็นการลดโอกาสในการเกิดบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยหรือทรัพย์สินเสียหาย รวมถึงการควบคุมอันตรายต่างๆ ก่อนที่จะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการก่อนการก่อสร้าง ซึ่งจะคุ้มค่ากว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งหรือใช้กระบวนการทำงาน เครื่องมือ โรงงาน หรือเครื่องจักรแล้ว

    ทำไมความปลอดภัยต้องเป็นวิศวกรรม?



    ทำไมความปลอดภัยต้องเป็นวิศวกรรม? อุบัติภัยที่เกิดขึ้นซ้ำซาก แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในการบริหารจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน เพราะความเสียหายจากอุบัติเหตุ จะทำให้ผลกำไรของธุรกิจอุตสาหกรรมลดลงอันหมายถึง ผลงานของผู้บริหารองค์กรนั้น ๆ ลดลงด้วย ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุอันตราย ควรเป็นเรื่องของ "การป้องกันล่วงหน้า" มากกว่า "การแก้ไขปรับปรุง" หลังเกิดเหตุแล้ว
    การป้องกันที่ดี จะต้องเริ่มจาก การออกแบบ อย่างดีตั้งแต่เริ่มต้นเลย ตามหลักการ 3E ของการป้องกันอุบัติเหตุที่ยึดถือกันมานานแล้ว คือ Engineering Education และ Enforcement เมื่อพูดถึงการออกแบบ ก็คงหนีไม่พ้นการคิดการคำรวณอย่างถูกต้องเหมาะสมในสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง อาคารเครื่องจักรอุปกรณ์ ไฟฟ้า วัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต สภาพแวดล้อม (อุณหภูมิ) ความร้อน แสงสว่าง เสียงดัง เป็นต้น
    การออกแบบข้างต้น จึงเป็นเรื่องของวิศวกรรม และเป็นงานของวิศวกร ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ วิศวกรจะเป็นผู้ออกแบบและสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้น (โดยเฉพาะสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้) วิศวกรเป็นผู้ออกแบบ คำนวณ และสร้างอาคาร โรงงานเครื่องจักรอุปกรณ์ระบบต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น มีกำลังใช้งานมากขึ้น มีราคาแพงขึ้น และมีอันตรายมากขึ้น ๆ ทำให้มีวัตถุดิบ สารเคมี ผลิตภัณฑ์ และกรรมวิธีการผลิตใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
    โดยปกติแล้ว วิศวกรโดยทั่วไปมักยึดถือ "ความปลอดภัย" เป็นส่วนสำคัญของการออกแบบไปในตัว วิศวกรส่วนใหญ่จะพยายามกำจัดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุอันตรายให้หมดไป (หรือเหลือน้อยที่สุด) เพราะไม่ต้องการให้เกิด "ความสูญเสีย" ขึ้นทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน แม้จะเป็นจริงตามนั้น แต่มักมีคำตำหนิทั้งจากสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ ว่า "วิศวกรให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยน้อยกว่าที่ควร" หรือการออกแบบของวิศวกรมักจะมองข้ามความปลอดภัย"
    วิศวกรด้านอากาศยานที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของอังกฤษ ชื่อ เจโรเม เลดเดอร์เรอร์ (Jerome Lederer) ได้วิจารณ์ไว้อย่างน่าฟังในปี ค.ศ. 1951 ว่า "การออกแบบโดยมองข้ามความปลอดภัยไป จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุอันตรายต่าง ๆได้ อาจเนื่องมาจาก วิศวกรมีประสบการณ์ไม่เพียงพอวิศวกรละเลย ทัศนคติที่ไม่ถูกต้องของวิศวกร หรือวิศวกรคำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายมากเกินไป แต่ที่ถูกที่ควรแล้ว จุดบกพร่องที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุอันตรายเหล่านั้นสามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าหากวิศวกรได้นำเอาหลักวิชาการด้านความปลอดภัยรวมเข้าไปในการออกแบบตั้งแต่ต้นเลย" นอกจากนี้ยังปรากฎเป็นหลักฐานในกฎหมายความปลอดภัยของอังกฤษ (Roben's Report) ที่วิพากษ์วิจารณ์วงการ "วิศวกรรม" ว่า "ขั้นตอนแรกในการส่งเสริมความปลอดภัยและสุขอนามัยในที่ทำงาน ก็คือการต้องมั่นใจได้ว่าโรงงาน เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ได้รับการออกแบบ และก่อสร้างให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในตัวเองตั้งแต่ต้นเลย"
    ดังนั้น วิศวกรควรให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยในการออกแบบและจัดสร้างมากขึ้น โดยอาศัย "วิศวกรรมความปลอดภัย" (Safety Engineering) เป็นเกณฑ์ อุบัติเหตุอันตรายจะได้ลดน้อยถอยลง….