วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จุดอ่อนของคนไทย 10 ประการ

ต้องบอกว่าประเทศไทยเปิดศักราชปีเสือไม่โสภา เมื่อ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ระบุว่าไทยอาจไม่เป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนเหมือนที่ผ่านมาในสายตาของนักลงทุนญี่ปุ่น  ทำให้คิดถึงความคิดเห็นของ วิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าพ่ออมตะนครที่เคยพูดถึง “จุดอ่อน” ของคนไทยไว้ 10 ข้อคือ  
1 . คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก   โดยเฉพาะ หน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดเป็น ธุรกิจการเมือง ธุรกิจราช การ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติล้าหลังไปเรื่อยๆ 
2.   การศึกษายังไม่ทันสมัย   คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่างๆ ไม่กล้าแสดงออก ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตามหลังชาติอื่น จะเห็นว่าคนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า 
3.   มองอนาคตไม่เป็น   คนไทยมากกว่า 70% ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงานแบบเป็นระบบ เป็นขั้น เป็นตอ มีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน 
4.   ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ทำแบบผักชีโรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญาหรือข้อตกลงอย่างเคร่ง ครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือด้านนี้ลงเรื่อยๆ 
5.   การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่   ประชากรประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและชุมชนซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม
6.   การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน ต่างกับประเทศที่เจริญแล้ว ข้อนี้กระบวนการยุติธรรมจะต้องปรับปรุง 
7.   อิจฉาตาร้อน   สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี่ยงเป็นศรีธนญชัยยกย่องคนมีอำนาจ มีเงิน โดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจ เอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่า ผู้ก่อการร้ายดีแต่พูด มือไม่พายเอาเท้ารานํ้า ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว & nbsp;
8.   เอ็นจีโอค้านลูกเดียว เอ็น จีโอ บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์เอ็นจีโอดีๆ ก็มี แต่บ้านเรามีน้อย บ่อยครั้งที่ประเทศเราเสียโอกาสอย่างมหาศาลเพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริงๆ ไม่ได้พูดกัน 
9.   ยังไม่พร้อมในเวทีโลก   การสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระดับโลกของเรายังขาดทักษะและทีมเวิร์ค ที่ดี ทำให้สู้ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้ 
10. เลี้ยงลูกไม่เป็น   ปัจจุบัน เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็ง เพราะเราเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเอง ต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะกระตือรือร้นช่วยตนเองขวนขวาย แสวงหา ค้นหาตัวเอง และเขาจะสอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคมข้อสุดท้าย! อ่านแล้วอาจต้องแปะติดข้างฝาไว้เลย!! 

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาตรฐานด้านความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม

มาตรฐานด้านความร้อน
เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม หมวด 1 ความร้อน
ข้อ 2ภายในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างทำงานอยู่ จะมีสภาพความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายของลูกจ้างสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส มิได้
ข้อ 3ในกรณีที่สถานประกอบการ มีสภาพความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายของลูกจ้างสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส ให้นายจ้างดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงเพื่อลดสภาพความร้อนนั้น หากแก้ไขหรือปรับปรุงไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเครื่องป้องกันความร้อน มิให้อุณหภูมิร่างกายของลูกจ้างสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส
ข้อ 4ในกรณีอุณหภูมิร่างกายของลูกจ้างสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดพักชั่วคราว จนกว่าอุณหภูมิร่างกายของลูกจ้างอยู่ในสภาพปกติ
ข้อ 5 ในที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน ที่มีสภาพความร้อนสูงถึงขนาดที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของบุคคล ให้นายจ้างปิดประกาศเตือนให้ทราบ
ข้อ 6ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานใกล้แหล่งกำเนิดความร้อน ที่ทำให้อุณหภูมิในบริเวณนั้นสูงเกินกว่า 45 องศาเซลเซียส สวมชุดแต่งกาย รองเท้า และถุงมือสำหรับป้องกันความร้อนมาตรฐานที่กำหนดในหมวด 4 ตลอดเวลาการทำงาน
 
มาตรฐานด้านแสงสว่าง

เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม หมวด 2 แสงสว่าง
1.งานที่ไม่ต้องการความละเอียด เช่น การขนย้าย การบรรจุ การบด ต้องมีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า 50 Lux
2.ในโกดังหรือห้องเก็บวัสดุ เฉลียง และบันไดในบริเวณสถานที่ประกอบการ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 Lux
3. งานที่ต้องการความละเอียดเล็กน้อย เช่น การผลิตหรือประกอบชิ้นส่วนอย่างหยาบๆ การสีข้าว ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 Lux
4.งานที่ต้องการความละเอียดปานกลาง เช่น การเย็บผ้า การเย็บหนัง ประกอบภาชนะ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 200 Lux
5. งานที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น การกลึงแต่งโลหะ การซ่อมแซมเครื่องจักร การทดสอบหรือตรวจผลิตภัณฑ์ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 300 Lux
6. งานที่ต้องการความละเอียดมากเป็นพิเศษ เช่น เจียระไนเพชร พลอย การประกอบชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก การเย็บผ้าสีมืดทึบ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 1000 Lux
7.ถนนและทางเดินนอกอาคารต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 20 Lux


มาตรฐานด้านเสียง

เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม หมวด 3 เสียง

ภายในสถานที่ประกอบการที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงาน ดังต่อไปนี้


1.
ไม่เกินวันละเจ็ดชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกินเก้าสิบเอ็ดเดซิเบล (เอ)
2.
เกินวันละเจ็ดชั่วโมง แต่ไม่เกินแปดชั่วโมง จะต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกินเก้าสิบเดซิเบล (เอ)
3.
เกินวันละแปดชั่วโมง จะต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกินแปดสิบเดซิเบล (เอ)
4.
นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีระดับเสียงเกินกว่าหนึ่งร้อยสิ่สิบเดซิเบล (เอ) มิได

มาตรฐานตรวจวัดระดับเสียงสูงสุด

มาตรฐาน
TWA ( 8 hr )
Lmax
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
90 d B(A)
140 d B (A)
OSHA
90 d B(A)
115 d B (A)


มาตรฐานด้านสารเคมีและอนุภาค
เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม( สารเคมี )


1.
ตลอดระยะเวลาการทำงาน ภายในสถานประกอบการที่ให้ลูกจ้างทำงาน จะมีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศของการทำงานโดยเฉลี่ย เกินกว่าที่กำหนดในตารางหมายเลข 1 ตามท้ายประกาศนี้มิได้
2.
ไม่ว่าระยะเวลาใดของการทำงาน ห้ามให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีเกินกว่าที่กำหนดในตารางหมายเลข 2 ท้ายประกาศนี้
3.
ห้ามให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีเกินกว่าที่กำหนดไว้ในตารางหมายเลข 3 ท้ายประกาศนี้
4.
ห้ามให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีปริมาณฝุ่นแร่ในบรรยากาศของการทำงาน ตลอดระยะเวลาการทำงานปกติเฉลี่ยเกินกว่าที่กำหนดในตารางหมายเลข 4 ตามท้ายประกาศนี้

มาตรฐานเกี่ยวกับอนุภาค

มาตรฐาน
ไทย
OSHA
NIOSH
ACGIH
PNOC
( mg/ m3)
Inhalable
dust
-
15
-
10
Respirable dust
-
5
-
3
Silica
( mg/ m3)
Inhalable
dust
30/
(%silica + 2)
-
-
-
Respirable dust
10/
(%silica + 2)
10/
(%silica + 2)
0.05
0.1
Aluminium
( mg/ m3)
Inhalable
dust
-
-
10
10
Respirable dust
-
-
5
-

หมายเหตุ : PNOC : Particulate not otherwise classified
มาตรฐานของ สำหรับอนุภาคอื่นๆ OSHA, NIOSH, ACGIH สามารถค้นคว้าได้จากหนังสือหรือเอกสารต่างๆ


มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย
1. สีเพื่อความปลอดภัยและสีตัดให้เป็นไปตามตาราง ดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 สีเพื่อความปลอดภัยและสีตัด

สีเพื่อความปลอดภัยความหมายตัวอย่างการใช้งานสีตัด
สีแดง- หยุด- เครื่องหมายหยุด
- เครื่องหมายอุปกรณ์หยุดฉุกเฉิน
- เครื่องหมายห้าม
สีขาว
สีเหลือง- ระวัง
- มีอันตราย
- ชี้บ่งว่ามีอันตราย ( เช่น ไฟ วัตถุระเบิด กัมมันตภาพรังสี วัตถุมีพิษและอื่นๆ )
- ชี้บ่งถึงเขตอันตราย ทางผ่านที่มีอันตราย เครื่องกีดขวาง 2)
- เครื่องหมายเตือน
สีดำ
สีฟ้า- บังคับให้ต้องปฏิบัติ- บังคับให้ต้องสวมเครื่องป้องกันส่วนบุคคล
- เครื่องหมายบังคับ
สีขาว
สีเขียว- แสดงภาวะปลอดภัย- ทางหนี
- ทางออกฉุกเฉิน
- ฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน
- หน่วยปฐมพยาบาล
- หน่วยกู้ภัย
- เครื่องหมายสารนิเทศแสดงภาวะปลอดภัย
สีขาว

หมายเหตุ : 1) สีแดงยังใช้สำหรับอุปกรณืเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิง และตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย
2) อาจใช้สีแดงส้มวาวแสงแทนสีเหลืองได้ แต่มิให้ใช้แทนสีเหลืองกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยตามตาราง ที่ 2 สีแดงส้มวาวแสงนี้มองเห็นเด่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มืดมัว


2.
รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยและสีที่ใช้แบ่งเป็น 4 ประเภทตามจุดประสงค์ของการแสดงความหมาย ตามตารางที่ 2

ตารางที่ 2 รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

ประเภท
รูปแบบ
สีที่ใช้
หมายเหตุ
เครื่องหมายห้าม
สีพื้น : สีขาว
สีของแถบตามขอบวงกลม และขอบขวาง : สีแดง
สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีดำ
- พื้นที่ของสีแดง ต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
- แสดงสัญลักษณ์ภาพไว้ตรงกลาง ของเครื่องหมาย โดยไม่ทับแถบขวาง
เครื่องหมายเตือน
สีพื้น : สีเหลือง
สีของแถบตามขอบ : สีดำ
สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีดำ
- พื้นที่ของสีเหลือง ต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
เครื่องหมายบังคับ
สีพื้น : สีฟ้า สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีขาว- พื้นที่ของสีฟ้า ต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
เครื่องหมายสารนิเทศ เกี่ยวกับภาวะปลอดภัย
สีพื้น : สีเขียว สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีขาว- พื้นที่ของสีเขียว ต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
- อาจใช้รูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้
 
3.
ในกรณีไม่มีสัญลักษณ์ภาพที่เหมาะสมสำหรับสื่อความหมายตามที่ต้องการ ให้ใช้เครื่องหมายทั่วไปสำหรับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยร่วมกับเครื่องหมายเสริม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
-
รูปแบบของเครื่องหมายเสริมเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส
-
สีพื้นเป็นสีเดียวกับสีเพื่อความปลอดภัย และสีข้อความเป็นไปตามสีตัดในตารางที่ 1 หรือสีพื้นสีขาวข้อความสีดำ
-
ช่องไฟระหว่างตัวอักษรต้องไม่แตกต่างกันมากกว่าร้อยละ 10
-
ลักษณะตัวอักษรต้องดูเรียบง่าย ไม่มีแรเงาหรือลวดลาย
-
ความกว้างของตัวอักษรไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของความสูงตัวอักษร

ตัวอย่าง
    
ขนาดของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยและตัวอักษร
ขนาดของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย และตัวอักษรที่ใช้ในเครื่องหมายเสริม กำหนดไว้เป็นแนวทางตามตารางที่ 3 ดังนี้

ตารางที่ 3 ขนาดของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย และตัวอักษร

ความสูงพิกัดของแผ่นเครื่องหมาย (a)
เส้นผ่านศูนย์กลาง หรือความสูงของเครื่องหมาย (b)
ความสูงของตัวอักษร ในเครื่องหมายเสริม
75
100
150
225
300
600
750
900
1200
60
80
120
180
240
480
600
720
960
5.0
6.6
10.0
15.0
20.0
40.0
50.0
60.0
80.0

  มาตรฐาน ACGIH
( American Conference of Governmental Industrial Hygiene )

Heat Exposure Tables
Permissible Heat Treashold Limit Value ( Value are give in ° C WBGT )

ช่วงทำงาน - พักในแต่ละชั่วโมงความหนักเบาของงาน
งานเบางานปานกลางงานหนัก
ทำงานตลอดเวลา30.026.725.0
ทำงาน 75% พัก 25%30.630.625.9
ทำงาน 50% พัก 50%31.431.427.9
ทำงาน 25% พัก 75%32.232.230.0

From “American Conference of Governmental Industrial Hygienists Treshold Limit Values and Biological Exposure Indices for 1988 – 1989“
งานเบา หมายถึง งานที่ต้องใช้พลังงานไม่เกิน 200 Kcal / hr หรือ 800 BTU / hr เช่น นั่งหรือยืนควบคุมเครื่องจักร ทำงานเบาด้วยมือหรือแขน
งานปานกลางหมายถึง งานที่ต้องใช้พลังงาน 200 - 350 Kcal / hr หรือ 800 - 1400 BTU / hr เช่น เดินและยกของน้ำหนักปานกลาง
งานหนักหมายถึง งานที่ต้องใช้พลังงาน 350 - 500 Kcal / hr หรือ 1400 - 2000 BTU / hr เช่น การขุด การตัก เป็นต้น
ตารางแสดงค่าพลังงานเผาผลาญอาหาร ( Metabolism ) มาตรฐานที่ใช้ในกิจกรรมการทำงาน


มาตรฐาน OSHA
( Occupational Safety and Health Association )

มาตรฐานระดับเสียงที่อนุญาตให้สัมผัสได้ในระยะเวลาหนึ่ง

Sound Level d B(A)
OSHA * PEL ( hr/ day )
Sound Level d B(A)
OSHA * PEL ( hr/ day )
85
16
101
1.7
86
14
102
1.5
87
12
103
1.4
88
11
104
1.3
89
9
105
1
90
8
106
52 ( minutes)
91
7
107
46( minutes)
92
6.2
108
40( minutes)
93
5.3
109
34( minutes)
94
4.6
110
30( minutes)
95
4
111
26( minutes)
96
3.5
112
23( minutes)
97
3
113
20( minutes)
98
2.8
114
17( minutes)
99
2.3
115
0
100
2
-
-

หมายเหตุ : PEL = Permissible Exposture Limit

มาตรฐานด้านการป้องกันอัคคีภัย

อันตรายจากการทำงานในที่ร้อน

           โรคร้อนอันนี้เอาจริงเอาจังนิดนึง ปรกติร่างกายคนเราจะพยายามรักษาอุณหภูมิไว้ที่ไม่เกิน 36 องศา โดยร่างกายจะขับเหงื่อออกมา ซึ่งการระเหยของน้ำจะลดอุณหภูมิของร่างกายได้ ซึ่งอัตราการระเหยจะขึ้นอยู่กับความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ปรกติเวลาที่อากาศอุณหภูมิสูงถึง 37 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิกระเปาะเปียกอยู่ที่ซัก 30 องศาเซลเซียส นั่นก็คือเหงื่อยังระเหยได้และร่างกายยังสามารถระบายความร้อนออกได้ ซึ่งในสภาพเช่นนี้ เราจะต้องดื่มน้ำเกลือแร่เข้าช่วยชดเชยการสูญเสียเหงื่อ มิฉะนั้นจะมีอาการแทรกซ้อนจากอาการขาดน้ำ (Dehydration) รวมไปถึงการขาดเกลือแร่ ซึ่งอาการขั้นต้น จะมีอาการตาลาย และเกิดอาการเหน็บชา ในกรณีขั้นรุนแรง ผู้ขาดน้ำจะมีอาการง่วง และไม่รู้สึกกระหายน้ำ อย่างไรก็ตาม จากประมาณการสภาพอากาศปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าอากาศของประเทศไทย จะมีการร้อนต่อเนื่องสูงสุดถึง 60 วัน กอปรกับการที่ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อนชื้น มีความเป็นไปได้สูง ที่เราจะพบกับกรณีที่อุณหภูมิปรกติสูงอยู่แล้ว ความชื้นในอากาศยังสูงตามอีก
         ที่ศรีราชาเมื่อปีที่แล้ว ผมเคยจับข้อมูลพบกรณีที่ช่วงอุณหภูมิกระเปาะแห้งสูง 37 องศา (ในร่ม) แถมด้วยอุณหภูมิกระเปาะเปียกถึง 33 องศาในช่วงสั้นๆประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ในสภาพเช่นนี้มีความเป็นไปได้สูงที่ร่างการจะไม่สามารถขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนได้ทันและเกิดสภาพที่เรียกว่า Heat stroke

Heat stroke ที่ผมเรียกง่ายๆว่าโรคร้อน เป็นอาการที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ 
         อาการเบื้องต้นจะมีอาการปวดหัว หน้ามืดจากความดันตก (อาการขาดเกลือ และขาดน้ำมีส่วนร่วมเสมอ) และเลวร้ายที่สุดคือการที่ร่างกายหยุดขับเหงื่อเพราะระบบประสาทรับรู้ทำงานผิดพลาด ในขั้นนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวๆร้อนๆ การหยุดระบายเหงื่อจะทำให้อุณหภูมิร่างกายขึ้นสูงไปถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดอาการสมองตายและเสียชีวิตในที่สุด
 

วิธีการปฐมพยาบาลและรักษา

        ต้องทำการลดอุณหภูมิผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด และส่งโรงพยาบาล การปฐมพยาบาล นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ให้ปลดกระดุมเพื่อระบายความร้อน ใช้น้ำแข็งประคบตามข้อพับต่างๆ เช่นรักแร้ หรืออาจใช้วิธีให้แช่น้ำที่ใส่น้ำแข็งลงไป(ถ้ามีคนมากพอ ซึ่งต้องคอยดูผู้ป่วยตลอดเวลา ไม่งั้นอาจหายจากโรคร้อน และเกิดอาการจมน้ำตายแทนได้)  ถ้ายังรู้สึกตัวอยู่ ให้พยายามดื่มน้ำมากๆ รวมถึงเกลือแร่ด้วย
 

การป้องกัน

         เมื่อต้องทำงานอยู่กลางแดด ให้สวมหมวกปีกสีสดที่สะท้อนแสง (สีขาวดีที่สุด) ดื่มน้ำมากๆ และอย่าทำงานต่อเนื่องกลางแดดเป็นเวลานาน สำหรับโรงงาน และ Site ก่อสร้าง ควรมีการตรวจประเมินอุณหภูมิตลอดเวลา ในกรณีที่อุณหภูมิ Wet Bulb Globe Temperature สูงถึง  32 องศาเซลเซียส ห้ามทำงานเกิน 20 นาทีในพื้นที่นั้นๆ (WBGT คำนวณจาก อุณหภูมิกระเปาะแห้ง x 0.1 + อุณหภูมิกระเปาะเปียก x 0.7 + อุณหภูมิพื้นผิววัตถุสีดำ x 0.2) WBGT ของอุณหภูมิพื้นผิววัตถุสีดำ อาจประมาณได้โดยเอาอุณหภูมิกระเปาะแห้งบวกเข้าไป 10 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิสัมผัสของแสงแดดจะอยู่ประมาณนี้) WBGT ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ครอบคลุม รูปแบบการถ่ายเทความร้อนทั้ง 3 รูปแบบคือ การนำ การพา และการแผ่รังสีครับ ถ้าใครสนใจเชิญสอบถามได้ที่หมวด Request ชองผมนะครับ เพราะเรื่องนี้อธิบายยาว

ข้อพึงระวัง การเกิด Heat stroke สำคัญที่สุดคือความชื้น มีหลายๆคนที่ทำงานในที่ร่มก็เกิด Heat stroke ได้ถ้าในพื้นที่นั้นๆมีความชื้นสูงเช่น การทำงานกับห้องที่มีหม้อต้มน้ำ ในกรณีนี้มีข้อแนะนำให้เพื่มการระบายอากาศในห้องเพื่อนำความชื้นออก
 
การประเมินค่าความร้อน

หลังจากอ่านค่าอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ทั้ง 3 ชนิดแล้วนั้น ให้นำค่าที่อ่านได้มาคำนวณเพื่อประเมินระดับความร้อน โดยใช้สูตร ดังนี้
ในร่มหรือนอกอาคารที่ไม่มีแสงแดด
WBGT = 0.7 NWB + 0.3 GT
นอกอาคารมีแสงแดด
WBGT = 0.7 NWB + 0.2 GT + 0.1 DB
WBGT
NWB
DB
GT
คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสเวทบัลบ์โกลบ (Web bulb globe temperature)คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก (Natural Web bulb globe)คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง (Dry bulb temperature)คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์โกลบ (Globe Temperature)        เมื่อคำนวณว่า WBGT ออกมาได้แล้ว จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน โดยต้องนำลักษณะการปฏิบัติงานของคนงานมาประกอบการพิจารณาด้วย โดยทั่วไปจะแบ่งลักษณะงานออกเป็น 3 ประเภท คือ
งานเบา หมายถึง งานที่ต้องออกกำลังน้อยหรืองานที่ต้องทำโดยใช้พลังงานไม่เกิน 200 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง เช่น งานนั่งคุมเครื่องจักรบังคับด้วยมือหรือเท้า ยืนหยิบชิ้นงานขนาดเล็กเข้าหรือออกจากเครื่องจักร ยืนเดินไปมารอบ ๆ เครื่องจักร นั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์โดยใช้สายตา หรืองานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
งานระดับปานกลาง หมายถึง งานที่ต้องออกกำลังปานกลางหรืองานที่ต้องทำ โดยใช้พลังงาน 201-300 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง เช่น งานยืนเดินไปมารอบ ๆ เครื่องจักร และออกแรงเข็นหรือยกผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้นงานขนาดใหญ่เข้าหรือออกจากเครื่องจักร หรืองานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
งานหนัก หมายถึง งานที่ต้องออกกำลังมากหรืองานที่ต้องทำโดยใช้พลังงานตั้งแต่ 301 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง เช่น ยกของหนัก ขุดหรือตักดิน ทุบโดยใช้ฆ้อนขนาดใหญ่ เลื่อยหรือตอกสลักไม้เนื้อแข็ง ปีนบันไดหรือทางลาดเอียง

 
 
 

หลักในการเลือกใช้สายไฟฟ้า

สายไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่นำส่งกระแสไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง สายไฟฟ้าทำมาจากโลหะทองแดง
ซึ่งเป็น ตัวนำไฟฟ้าที่ดี หุ้มด้วย
ฉนวน


หลักในการเลือกใช้สายไฟฟ้า

1.เลือกซื้อสายที่ได้รัยอนุญาติแสดงเครื่องหมายเครื่องหมายมาตรฐานอุตสหกรรมหรือเครื่องหมาย มอก.
จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม กระทรวงอุตสหกรรม
2.หลีกเลี่ยงการมีจุดต่อสายไฟฟ้าในการเดินสายมากเกินความจำเป็น ถ้าหากมีความจำเป็น
ต้องเลือใช้อุปกรณ์และสายไฟฟ้าให้ถูกต้อง ควรมั่นตรวจสอบจุดต่อสายไฟฟ้าอยู้เป็นประจำปีละ1-2ครั้ง
3.ควรวางแผนการตรวจสอบ เพื่อมทำการเปลี่ยนสายใหม่ หากพบว่าสายไฟมีความผิดปกติเช่น
แตกลายงา มีรอยไหม้ หรือมีการหลอมตัวของฉนวน เนื่องจากความร้อน ให้ทำการเปลี่ยนสายใหม่ทันที
4. หากมีการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น ควรตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ให้เหมาะสม
หากขนาดไม่เพียงพอก็ให้เปลี่ยนสายนไฟฟ้าใหม่ให้มีขนาดเหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

5.เลือกขนาดใช้สายไฟฟ้าให้เหมาะกับขนาดและปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเปรียบเทียบกับตาราง


เบอร์
เส้นผ่า
พื้นที่หน้าตัด
กระแสไฟฟ้าสูงสุด
ที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย
ถ้าใช้เป็นฟิวส์
ทานกระแสได
สายหลายเส้น
สายเดี่ยว
ศูนย์กลาง
mm2
มีฉนวนหุ้ม
ลวดเปลือก
19/12
0
8.23
54.188
125
200
-
19/5
3
6.40
32.768
90
125
-
-
5
5.38
23.155
70
90
-
-
8
4.06
13.026
50
70
-
7/16
10
3.24
8.398
35
50
-
7/18
12
2.64
5.584
25
30
-
7/20
14
2.03
3.296
20
25
232
7/22
16
1.62
2.112
15
20
165

ตัวอย่างการหาขนาดสายไฟฟ้า
    ในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาด2.4กิโลวัตต220 โวลต์ จะต้องใช้สายไฟฟ้าเบอร์อะไร
วิธีทำ จากสูตร
                    I =     P
                                                  E
                            แทนค่า   =   2,400  = 10.9
                                               220 

    จะต้องเพื่อความปลอดภัยไว้ 1.5 เท่า
             จะต้องใช้สายไฟฟ้าที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได10.9 x 1.5 = 16.35 A
    เมื่อเปรียบเทียบกับตารางจะเห็นว่าสายไฟฟ้าที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย คือสาย สายไฟฟ้าเบอร์ 20
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/110/body02.html

สูตรในการเลือกขนาดมอเตอร์ปั๊มน้ำ

1.สูตรในการเลือกขนาดมอเตอร์ปั๊มน้ำ
กำลังที่ปั๊มใช้ในการส่งน้ำออกจากปั๊ม ก็คือกำลังที่ใช้ขับเพลาของปั๊ม มีหน่วยเป็นแรงม้า(Brake Horse Power=BHP)
ส่วนงานที่ได้จากการขับของเพลา ที่อยู่ในรูปของความดัน และความเร็วของน้ำที่ถูกส่งออกเรียกว่า (Liquid Horse Power หรือ Work =WHP )

ฉะนั้น WHP= ปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ (หน่วย U.S แกลลอน/ นาที่ ) x Head ( หน่วย ฟุต ) x Sp.Gr / 3960

เมื่อ U.S แกลลอน หน่วย/นาที
( 1 U.S แกลลอน = 3.7848 ลิตร )
head = ความสูงของน้ำ หน่วยเป็น ฟุต
Sp.Gr = ความถ่วงจำเพาะของน้ำที่ 60 F เท่ากับ 1

ส่วนประสิทธิภาพของปั๊มน้ำ ก็คืองานที่ได้ (WHP) หาร ด้วยงาน
ที่ใส่เข้าไปเพื่อขับเพลา (BHP)
สูตรก็คือ ประสิทธิภาพของปั๊ม = (WHP/ BHP ) x 100
= (หน่วยเป็น % )

ตัวอย่าง : - ปั๊มน้ำมีประสิทธิภาพ 70 % ส่งน้ำได้ 200 U.S gallon/นาที ที่ความสูง 45 ฟุต ต้องใช้กำลังขับ กี่แรงม้า ?

คำนวนหา WHP = 200 x 45 x1 /3960
= 2.27
เมื่อปั๊มมี eff 70% = ( 2.27 /BHP ) x 100
BHP = 3.25 แรงม้า (หรือ 2.43 kW )


2.วิธีที่ 2 เป็นตารางสำเร็จที่เทียบหากำลังม้า(ทางทฤษฎี )ต่อความสูง และอัตราการไหลของน้ำ (จะสแกน เป็น pdf )

3.ส่วนการออกแบบ - การเดินท่อ - หรือข้อควรคำนึง ผมคิดว่าเรา
ไม่ใช่โรงงานขนาดใหญ่ เช่นโรงกลั่น - ปิโตรเคมี ฯลฯ ซึ่งต้องใช้
เทคนิค รายละเอียดและต้องพิจารณาเงื่อนไขมากมาย( คุณสมบัติของ ท่อ วาล์ว แรงเสียดทานของของไหล การหดตัว ขยายตัวของท่อ ฯลฯ ) ซึ่งหลักในการพิจารณาในอันดับต้น ๆของคุณ Pk น่าจะ
ดูที่วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ราคาที่ที่เหมาะสม กับความสามารถในการนำไปใช้งาน ขนาดของท่อที่เหมาะสม การเดินท่อ
ใช้งาน ฯ ลดหรือใช้ข้อต่อ ข้องอเท่าที่จำเป็นเพื่อลดแรงเสียดทานที่
ต้านทานการไหลของน้ำ ตลอดจนการเดินท่อที่ผ่านความร้อนจากแสงแดดทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงและมีผลต่อการนำไปใช้งาน มากกว่า.

4. หน่วยที่ใช้ประกอบ
1 US.แกลลอน = 3.7848 ลิตร
1 เมตร = 3.28083 ฟุต
1 HP (แรงม้า ) = 0.746 kW ( หรือ 746 Watt )
หรือ 1 kW =1.34 HP


ที่มา http://www2.dede.go.th/Wboard

สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์

สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์

ก.สายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ตัวเดียว
       1.สายไฟฟ้าวงจรย่อยที่จ่ายให้มอเตอร์ตัวเดียว ต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ ของกระแสพิกัดโหลดเต็มที่ (Full load Current) ของมอเตอร์ ยกเว้นมอเตอร์หลายความเร็ว (Multispeed Motor) ซึ่งแต่ละตวามเร็วมีพิกัดกระแสต่างกัน ให้ใช้ค่าพิกัดกระแสสูงสุด ซึ่งดูได้จาก แผ่นป้าย (Name Plate)
       2. สายไฟฟ้าของวงจรมอเตอร์ ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.ม สำหรับการกำหนดขนาดสายไฟฟ้าจะต้องดูชนิดและวิธีการเดินสายประกอบด้วย เช่น เดินในท่อหรือเดินลอยในอากาศหรือท่อโลหะ เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 1 จงกำหนดขนาดของกระแสไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส ขนาด 10 แรงม้า
380 โวลท์ 17แอมแปร์
            วิธีทำ
                     ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าต้องไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ของพิกัดกระแสโหลดเต็มที่
                                          =          1.25 ×17
                                          =         21.25 A
                        ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 22 แอมป์แปร

ตัวอย่างที่ 2 จงกำหนดขนาดกระแสของสายไฟฟ้าของมอเตอร์แต่ละตัวและสายป้อนของมอเตอร์ เหนี่ยวนำ 3 เฟสจำนวน 4 ตัว (M1-M4) เริ่มเดินแบบ Direct On Line Starter

   
มอเตอร์ M1 5 แรงม้า 9.2 แอมแปร์ รหัสอักษร B
    มอเตอร์ M2 7.5 แรงม้า 13 แอมแปร์ รหัสอักษร E
    มอเตอร์M3 10 แรงม้า 17 แอมแปร์ รหัสอักษร F
   มอเตอร์M4 15 แรงม้า 25 แอมแปร์ ไม่มีรหัสอักษร

วิธีทำ

ก. กำหนดขนาดสายไฟฟ้าวงจรย่อยมอเตอร์แต่ละตัว
    มอเตอร์ M1 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 9.2 = 11.5 A
    มอเตอร์ M2 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 13  =  16 .25 A
    มอเตอร์ M3 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 17  =   21.25 A
    มอเตอร์ M4 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 25  =    32.25 A

ข. ขนาดสายป้อน

               = (1.25 × 25) +17+13+9.2
           = 70.45
        นั่นคือ ขนาดกระแสของสาไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 71 แอมแปร์
ตัวอย่างที่ 3 จากข้อมูลมอเตอร์ 4 ตัวในตัวอย่างที่2 ถ้าต้องการใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ เป็นเครื่องป้องกัน
การลัดวงจร จงกำหนดขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวและเซอร์กิตเบรกเกอร์ของสายป้อน

       
วิธีทำ
     ก. ขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวพิจารณาตารงที่3
             - M1รหัสอักษร ฺB ไม่เกิน 200 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 200 ×9.2      =   18.4A
                                  100
                 เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 20 แอมแปร์
            - M2รหัสอักษร E ไม่เกิน 200 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 200 × 13    =   26A
                                  100
             เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 30 แอมแปร์
           - M3รหัสอักษรF ไม่เกิน 250 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 250 × 17    =  42.5A
                                  100
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 40 แอมแปร์หรือ 50 แอมแปร์
           
           - M4 ไม่มีรหัสอักษรไม่เกิน 250 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 250 × 25   =  62.5A
                                  100
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 70 แอมแปร์   
      ข.ขนาดเซอร์กิตของสายป้อน

                      = 70 +17+13+9.2 = 109.2
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 100 แอมแปร์
ที่มา : http://edu.e-tech.ac.th/

การคำนวณหาขนาดของมอเตอร์