วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อันตรายจากการทำงานในที่ร้อน

           โรคร้อนอันนี้เอาจริงเอาจังนิดนึง ปรกติร่างกายคนเราจะพยายามรักษาอุณหภูมิไว้ที่ไม่เกิน 36 องศา โดยร่างกายจะขับเหงื่อออกมา ซึ่งการระเหยของน้ำจะลดอุณหภูมิของร่างกายได้ ซึ่งอัตราการระเหยจะขึ้นอยู่กับความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ปรกติเวลาที่อากาศอุณหภูมิสูงถึง 37 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิกระเปาะเปียกอยู่ที่ซัก 30 องศาเซลเซียส นั่นก็คือเหงื่อยังระเหยได้และร่างกายยังสามารถระบายความร้อนออกได้ ซึ่งในสภาพเช่นนี้ เราจะต้องดื่มน้ำเกลือแร่เข้าช่วยชดเชยการสูญเสียเหงื่อ มิฉะนั้นจะมีอาการแทรกซ้อนจากอาการขาดน้ำ (Dehydration) รวมไปถึงการขาดเกลือแร่ ซึ่งอาการขั้นต้น จะมีอาการตาลาย และเกิดอาการเหน็บชา ในกรณีขั้นรุนแรง ผู้ขาดน้ำจะมีอาการง่วง และไม่รู้สึกกระหายน้ำ อย่างไรก็ตาม จากประมาณการสภาพอากาศปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าอากาศของประเทศไทย จะมีการร้อนต่อเนื่องสูงสุดถึง 60 วัน กอปรกับการที่ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อนชื้น มีความเป็นไปได้สูง ที่เราจะพบกับกรณีที่อุณหภูมิปรกติสูงอยู่แล้ว ความชื้นในอากาศยังสูงตามอีก
         ที่ศรีราชาเมื่อปีที่แล้ว ผมเคยจับข้อมูลพบกรณีที่ช่วงอุณหภูมิกระเปาะแห้งสูง 37 องศา (ในร่ม) แถมด้วยอุณหภูมิกระเปาะเปียกถึง 33 องศาในช่วงสั้นๆประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ในสภาพเช่นนี้มีความเป็นไปได้สูงที่ร่างการจะไม่สามารถขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนได้ทันและเกิดสภาพที่เรียกว่า Heat stroke

Heat stroke ที่ผมเรียกง่ายๆว่าโรคร้อน เป็นอาการที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ 
         อาการเบื้องต้นจะมีอาการปวดหัว หน้ามืดจากความดันตก (อาการขาดเกลือ และขาดน้ำมีส่วนร่วมเสมอ) และเลวร้ายที่สุดคือการที่ร่างกายหยุดขับเหงื่อเพราะระบบประสาทรับรู้ทำงานผิดพลาด ในขั้นนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวๆร้อนๆ การหยุดระบายเหงื่อจะทำให้อุณหภูมิร่างกายขึ้นสูงไปถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดอาการสมองตายและเสียชีวิตในที่สุด
 

วิธีการปฐมพยาบาลและรักษา

        ต้องทำการลดอุณหภูมิผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด และส่งโรงพยาบาล การปฐมพยาบาล นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ให้ปลดกระดุมเพื่อระบายความร้อน ใช้น้ำแข็งประคบตามข้อพับต่างๆ เช่นรักแร้ หรืออาจใช้วิธีให้แช่น้ำที่ใส่น้ำแข็งลงไป(ถ้ามีคนมากพอ ซึ่งต้องคอยดูผู้ป่วยตลอดเวลา ไม่งั้นอาจหายจากโรคร้อน และเกิดอาการจมน้ำตายแทนได้)  ถ้ายังรู้สึกตัวอยู่ ให้พยายามดื่มน้ำมากๆ รวมถึงเกลือแร่ด้วย
 

การป้องกัน

         เมื่อต้องทำงานอยู่กลางแดด ให้สวมหมวกปีกสีสดที่สะท้อนแสง (สีขาวดีที่สุด) ดื่มน้ำมากๆ และอย่าทำงานต่อเนื่องกลางแดดเป็นเวลานาน สำหรับโรงงาน และ Site ก่อสร้าง ควรมีการตรวจประเมินอุณหภูมิตลอดเวลา ในกรณีที่อุณหภูมิ Wet Bulb Globe Temperature สูงถึง  32 องศาเซลเซียส ห้ามทำงานเกิน 20 นาทีในพื้นที่นั้นๆ (WBGT คำนวณจาก อุณหภูมิกระเปาะแห้ง x 0.1 + อุณหภูมิกระเปาะเปียก x 0.7 + อุณหภูมิพื้นผิววัตถุสีดำ x 0.2) WBGT ของอุณหภูมิพื้นผิววัตถุสีดำ อาจประมาณได้โดยเอาอุณหภูมิกระเปาะแห้งบวกเข้าไป 10 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิสัมผัสของแสงแดดจะอยู่ประมาณนี้) WBGT ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ครอบคลุม รูปแบบการถ่ายเทความร้อนทั้ง 3 รูปแบบคือ การนำ การพา และการแผ่รังสีครับ ถ้าใครสนใจเชิญสอบถามได้ที่หมวด Request ชองผมนะครับ เพราะเรื่องนี้อธิบายยาว

ข้อพึงระวัง การเกิด Heat stroke สำคัญที่สุดคือความชื้น มีหลายๆคนที่ทำงานในที่ร่มก็เกิด Heat stroke ได้ถ้าในพื้นที่นั้นๆมีความชื้นสูงเช่น การทำงานกับห้องที่มีหม้อต้มน้ำ ในกรณีนี้มีข้อแนะนำให้เพื่มการระบายอากาศในห้องเพื่อนำความชื้นออก
 
การประเมินค่าความร้อน

หลังจากอ่านค่าอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ทั้ง 3 ชนิดแล้วนั้น ให้นำค่าที่อ่านได้มาคำนวณเพื่อประเมินระดับความร้อน โดยใช้สูตร ดังนี้
ในร่มหรือนอกอาคารที่ไม่มีแสงแดด
WBGT = 0.7 NWB + 0.3 GT
นอกอาคารมีแสงแดด
WBGT = 0.7 NWB + 0.2 GT + 0.1 DB
WBGT
NWB
DB
GT
คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสเวทบัลบ์โกลบ (Web bulb globe temperature)คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก (Natural Web bulb globe)คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง (Dry bulb temperature)คือ อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์โกลบ (Globe Temperature)        เมื่อคำนวณว่า WBGT ออกมาได้แล้ว จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน โดยต้องนำลักษณะการปฏิบัติงานของคนงานมาประกอบการพิจารณาด้วย โดยทั่วไปจะแบ่งลักษณะงานออกเป็น 3 ประเภท คือ
งานเบา หมายถึง งานที่ต้องออกกำลังน้อยหรืองานที่ต้องทำโดยใช้พลังงานไม่เกิน 200 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง เช่น งานนั่งคุมเครื่องจักรบังคับด้วยมือหรือเท้า ยืนหยิบชิ้นงานขนาดเล็กเข้าหรือออกจากเครื่องจักร ยืนเดินไปมารอบ ๆ เครื่องจักร นั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์โดยใช้สายตา หรืองานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
งานระดับปานกลาง หมายถึง งานที่ต้องออกกำลังปานกลางหรืองานที่ต้องทำ โดยใช้พลังงาน 201-300 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง เช่น งานยืนเดินไปมารอบ ๆ เครื่องจักร และออกแรงเข็นหรือยกผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้นงานขนาดใหญ่เข้าหรือออกจากเครื่องจักร หรืองานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
งานหนัก หมายถึง งานที่ต้องออกกำลังมากหรืองานที่ต้องทำโดยใช้พลังงานตั้งแต่ 301 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง เช่น ยกของหนัก ขุดหรือตักดิน ทุบโดยใช้ฆ้อนขนาดใหญ่ เลื่อยหรือตอกสลักไม้เนื้อแข็ง ปีนบันไดหรือทางลาดเอียง

 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น