วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุป ประกาศประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

ประกาศกระทรวงมหาดไทย 2 ฉบับดังนี้
1 ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
2 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม

1 ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
หมวด 1 การใช้เครื่องจักรทั่วไป
  • ข้อ2 ให้จัดให้ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรสวม หมวก แว่นตา ถุงมือ เครื่องป้องกันเสียง รองเท้ายางหุ้มส้น หรือเครื่องป้องกันอันตรายอื่นๆ ตามสภาพและลักษณะงาน และให้ถือเป็นระเบียบการปฏิบัติงานของสถานประกอบการ

  • ข้อ3 ให้ดูแลให้สวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อย รัดกุม ไม่ขาดรุ่งริ่ง ในกรณีทำงานกับไฟฟ้าต้องไม่เปียก

  • ข้อ5 ให้จัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรดังนี้
    (1) เครื่องจักรที่มีพลังงานไฟฟ้าต้องมีสายดิน
    (7) เครื่องจักรอัตโนมัติ ต้องมีเครื่องหมายเปิด ปิดที่เป็นสากล และมีเครื่องป้องกันสิ่งใดที่จะกระทบสวิตซ์โดยไม่ตั้งใจ
    (8) เครื่องจักรที่มีการถ่ายทอดพลังงาน ต้องมีตะแกรงเหล็กเหนียวครอบส่วนที่หมุนได้และส่วนถ่ายกำลังอย่างมิดชิด
    (9) ใบเลื่อยวงเดือนที่ใช้กับเครื่องจักรต้องมีที่ครอบใบเลื่อย
    (10) เครื่องจักรที่ใช้เป็นเครื่องลับ ฝน หรือแต่งผิวโลหะ ต้องมีเครื่องปิดบังประกายไฟหรือเศษวัสดุขณะใช้งาน

  • ข้อ6 การติดตั้งหรือซ่อมแซมให้ทำป้ายปิดประกาศ ณ บริเวณซ่อมและแขวนป้ายห้ามที่สวิตซ์

  • ข้อ7 ให้มีการดูแลเครื่องจักรกลดังต่อไปนี้
    (3) ไม่นำรถยก รถปั้นจั่น หรือเครื่องมือสำหรับยกอื่นๆ ไปใช้งานใกล้กับสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า เว้นแต่
    - ก. มีแผงกั้น
    - ข.เครื่องกลนั้นมีการต่อสายดิน
    - ค. มีฉนวนหุ้มอย่างดี
    - ง. ใช้มาตรการความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักรกลเช่นเดียวกับว่ามีกระแสไฟฟ้าอยู่

  • ข้อ8 ห้ามใช้เครื่องมือกลเกินพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนดไว้

  • ข้อ9 ให้จัดให้มีทางเดินเข้าออกระหว่างเครื่องจักร จากที่สำหรับการปฏิบัติงาน มีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม.

  • ข้อ10 ให้ทำรั้ว คอกกั้นหรือเส้นแสดงเขตอันตราย ณ ที่ตั้งของเครื่องจักรหรือเขตของเครื่องจักรที่อาจเกิดอันตราย




  • 2 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม
    หมวด 1 ความร้อน

  • ข้อ2 สภาพความร้อนของที่ทำงานต้องไม่ทำให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ทำงานสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส

  • ข้อ3 กรณีที่สภาพความร้อนในที่ทำงานทำให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ปฏิบัติงานสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส ให้ทำการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน หากปรับปรุงไม่ได้ ต้องจัดให้มีเครื่องป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของร่างกายสูง เกินกว่ากำหนด

  • ข้อ4 กรณีอุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียสในหยุดพักจนกว่าอุณหภูมิร่างกายจะปกติ

  • ข้อ5 ให้ปิดประกาศเตือนให้ทราบถึงแหล่งกำเนิดความร้อนที่เป็นอันตราย ข้อ6 ให้จัด ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมชุดแต่งกาย รองเท้าและถุงมือกันความร้อนในแหล่งกำเนิดความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส หมวด 2 แสงสว่าง

  • ข้อ7ภายในสถานประกอบการที่ให้ลูกจ้างทำงานดังต่อไปนี้
    (1) งานไม่ต้องการความละเอียด เช่น การขนย้าย การบรรจุ การบด การเกลี่ยวัตถุชนิดหยาบเป็นต้น ต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์
    (2) งานที่ต้องการความละเอียดน้อยเช่น การผลิตหรือการประกอบชิ้นงานอย่างหยาบๆ การสีข้าว การสางฝ้าย หรือการปฏิบัติงานขั้นแรกในกระบวนการอุตสาหกรรมต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์

  • ข้อ8 ที่ๆให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงาน ดังต่อไปนี้
    (1) งานที่มีความละเอียดปานกลาง เช่น การเย็บผ้า การเย็บหนัง การประกอบภาชนะเป็นต้นต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์
    (2) งานที่ต้องการความละเอียดสูงกว่าข้อ 1 แต่น้อยกว่าข้อ3 เช่น การกลึงหรือแต่งไส การซ่อมแซมเครื่องจักร การตรวจตราและการทดสอบผลิตภัณฑ์ การตกแต่งหนังและผ้าฝ้าย การทอผ้าเป็นต้นต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 300 ลักซ์
    (3) งานที่ต้องการความละเอียดมากเป็นพิเศษและต้องทำงานเป็นเวลานาน เช่นการประกอบเครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก นาฬิกา การเจียรนัยเพชร พลอย การเย็บผ้าที่มีสีมืดทึบเป็นต้นต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 1000 ลักซ์

  • ข้อ9 ถนนและทางเดินนอกอาคารต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 20 ลักซ์

  • ข้อ10 ในโกดังหรือห้องเก็บวัสดุ ทางเดิน เฉลียงและบันได ต้องมีความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์

  • ข้อ11 ให้มีการป้องกันไม่ให้มีแสงตรงหรือแสงสะท้อนของอาทิตย์หรือเครื่องกำเนิดแสงจ้าส่องเข้าตาในขณะทำงาน หากไม่สามารถป้องกันได้ให้สวมใส่แว่นตา หรือกระบังลดแสง

  • ข้อ12 การทำงานในถ้ำ อุโมงค์ หรือในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ให้สวมหมวกแข็งที่มีอุปกรณ์ส่องสว่างตลอดเวลาที่ทำงาน หมวด 3 เสียง

  • ข้อ13 ภายในสถานประกอบการที่ลูกจ้างทำงานดังต่อไปนี้
    - ไม่เกินวันละเจ็ดชั่วโมงต้องมีระดับเสียงดังติดต่อกันไม่เกิน 91เดซิเบล(เอ)
    - เกินวันละเจ็ดชั่วโมงแต่ไม่เกิน 8ชั่วโมงต้องมีระดับเสียงดังติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล(เอ)
    - เกินวันละแปดชั่วโมงต้องมีระดับเสียงดังติดต่อกันไม่เกิน 80เดซิเบล(เอ)

  • ข้อ14 ห้ามลูกจ้างทำงานในที่ที่มีระดับเสียงดังเกิน 140 เดซิเบล(เอ)

  • ข้อ15 หากระดับเสียงดังเกินในข้อ13 ให้ทำการปรับปรุงแก้ไขที่ต้นกำเนิดของเสียง

  • ข้อ16 หากไม่สามารถแก้ไขดังข้อที่ 15 ได้ให้จัดให้มีการสวมใส่ปลั๊กลดเสียงหรือที่ครอบหูลดเสียง ตลอดเวลาการทำงาน หมวด 4 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองอันตรายส่วนบุคคล

  • ข้อ18 ปลั๊กลดเสียง ต้องทำด้วย พลาสติก หรือยางหรือวัตถุอื่น ใช้ใส่ช่องหูทั้งสองข้าง ต้องสามารถลดระดับเสียงได้ไม่น้อยกว่า 15 เดซิเบล(เอ)

  • ข้อ19 ครอบหูลดเสียง ต้องทำด้วย พลาสติก หรือยางหรือวัตถุอื่น ใช้ใส่ช่องหูทั้งสองข้าง ต้องสามารถลดระดับเสียงได้ไม่น้อยกว่า 25 เดซิเบล(เอ)



  •    แหล่งข้อมูล  http://www.4uengineer.com/

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น