วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

safety engineering

วิศวกรรมความปลอดภัยเรียนเพื่ออะไร  
วิศวกรรมความปลอดภัย (Safety Engineer)
               วิศวกรรมความปลอดภัย (Safety Engineer) เป็นวิชาการที่มุ่งศึกษาการจัดการระบบการผลิตในอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของอุปกรณ์การผลิต การติดตั้ง ขั้นตอนและวิธีการทำงาน การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ในเชิงคณิตศาสตร์

                ดังนั้น วิศวกรผู้มีหน้าที่ออกแบบการทำงานจะต้องพยายามศึกษาปฎิกิริยาระหว่างคนกับเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมใดๆ เพื่อที่จะออกแบบเครื่องจักรหรือจัดสภาพแวดล้อมนั้นให้มีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของคนมากที่สุด และเมื่อมีการพิจารณาถึงมาตรการลดความสูญเสียต่างๆ เช่น การควบคุมความปลอดภัย ก็อาจสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ การควบคุมที่แหล่งกำเนิด การควบคุมที่ตัวกลาง และการควบคุมที่เป้าหมายหรือมนุษย์
               วิศวกรรมความปลอดภัย (Safety Engineering) คือการออกแบบเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ซึ่งเป็นวิธีการที่ยอดเยี่ยมสำหรับการควบคุมอุบัติเหตุ เพราะเป็นวิธีที่กำจัดอันตรายออกไปก่อนที่จะเกิดการสัมผัส ดังนั้นจึงเป็นการลดโอกาสในการเกิดบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยหรือทรัพย์สินเสียหาย รวมถึงการควบคุมอันตรายต่างๆ ก่อนที่จะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการก่อนการก่อสร้าง ซึ่งจะคุ้มค่ากว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งหรือใช้กระบวนการทำงาน เครื่องมือ โรงงาน หรือเครื่องจักรแล้ว

ทำไมความปลอดภัยต้องเป็นวิศวกรรม?



ทำไมความปลอดภัยต้องเป็นวิศวกรรม? อุบัติภัยที่เกิดขึ้นซ้ำซาก แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในการบริหารจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน เพราะความเสียหายจากอุบัติเหตุ จะทำให้ผลกำไรของธุรกิจอุตสาหกรรมลดลงอันหมายถึง ผลงานของผู้บริหารองค์กรนั้น ๆ ลดลงด้วย ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุอันตราย ควรเป็นเรื่องของ "การป้องกันล่วงหน้า" มากกว่า "การแก้ไขปรับปรุง" หลังเกิดเหตุแล้ว
การป้องกันที่ดี จะต้องเริ่มจาก การออกแบบ อย่างดีตั้งแต่เริ่มต้นเลย ตามหลักการ 3E ของการป้องกันอุบัติเหตุที่ยึดถือกันมานานแล้ว คือ Engineering Education และ Enforcement เมื่อพูดถึงการออกแบบ ก็คงหนีไม่พ้นการคิดการคำรวณอย่างถูกต้องเหมาะสมในสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง อาคารเครื่องจักรอุปกรณ์ ไฟฟ้า วัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต สภาพแวดล้อม (อุณหภูมิ) ความร้อน แสงสว่าง เสียงดัง เป็นต้น
การออกแบบข้างต้น จึงเป็นเรื่องของวิศวกรรม และเป็นงานของวิศวกร ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ วิศวกรจะเป็นผู้ออกแบบและสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้น (โดยเฉพาะสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้) วิศวกรเป็นผู้ออกแบบ คำนวณ และสร้างอาคาร โรงงานเครื่องจักรอุปกรณ์ระบบต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น มีกำลังใช้งานมากขึ้น มีราคาแพงขึ้น และมีอันตรายมากขึ้น ๆ ทำให้มีวัตถุดิบ สารเคมี ผลิตภัณฑ์ และกรรมวิธีการผลิตใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
โดยปกติแล้ว วิศวกรโดยทั่วไปมักยึดถือ "ความปลอดภัย" เป็นส่วนสำคัญของการออกแบบไปในตัว วิศวกรส่วนใหญ่จะพยายามกำจัดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุอันตรายให้หมดไป (หรือเหลือน้อยที่สุด) เพราะไม่ต้องการให้เกิด "ความสูญเสีย" ขึ้นทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน แม้จะเป็นจริงตามนั้น แต่มักมีคำตำหนิทั้งจากสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ ว่า "วิศวกรให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยน้อยกว่าที่ควร" หรือการออกแบบของวิศวกรมักจะมองข้ามความปลอดภัย"
วิศวกรด้านอากาศยานที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของอังกฤษ ชื่อ เจโรเม เลดเดอร์เรอร์ (Jerome Lederer) ได้วิจารณ์ไว้อย่างน่าฟังในปี ค.ศ. 1951 ว่า "การออกแบบโดยมองข้ามความปลอดภัยไป จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุอันตรายต่าง ๆได้ อาจเนื่องมาจาก วิศวกรมีประสบการณ์ไม่เพียงพอวิศวกรละเลย ทัศนคติที่ไม่ถูกต้องของวิศวกร หรือวิศวกรคำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายมากเกินไป แต่ที่ถูกที่ควรแล้ว จุดบกพร่องที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุอันตรายเหล่านั้นสามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าหากวิศวกรได้นำเอาหลักวิชาการด้านความปลอดภัยรวมเข้าไปในการออกแบบตั้งแต่ต้นเลย" นอกจากนี้ยังปรากฎเป็นหลักฐานในกฎหมายความปลอดภัยของอังกฤษ (Roben's Report) ที่วิพากษ์วิจารณ์วงการ "วิศวกรรม" ว่า "ขั้นตอนแรกในการส่งเสริมความปลอดภัยและสุขอนามัยในที่ทำงาน ก็คือการต้องมั่นใจได้ว่าโรงงาน เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ได้รับการออกแบบ และก่อสร้างให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในตัวเองตั้งแต่ต้นเลย"
ดังนั้น วิศวกรควรให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยในการออกแบบและจัดสร้างมากขึ้น โดยอาศัย "วิศวกรรมความปลอดภัย" (Safety Engineering) เป็นเกณฑ์ อุบัติเหตุอันตรายจะได้ลดน้อยถอยลง….

              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น