หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Carbon credit: “The return of the king”

พิทูร จันทร์ทิพย์
ที่ปรึกษา (สิ่งแวดล้อม)
pitoon.j@npc-se.co.th
เอ็นพี่ซี เอส แอนด์ อี
1.Hot issue in Thailand
              กลับมาเป็นประเด็นร้อนแรงอีกครั้งน่ะครับ หลังจากสินค้า OTOP จากประเทศไทย ที่ไม่สามารถจับต้องเป็นรูปธรรม ได้ล่องลอยอยู่ในอากาศ เสมือนว่าเป็นนโยบายขายฝัน จะสามารถสร้างมูลค่าที่กลับเข้าสู่ประเทศได้ โดยล่าสุดมีโครงการอยู่ 18 โครงการที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาลไทย โดยที่ภายในนั้น 5 โครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสหประชาชาติแล้ว ซึ่งสามารถสร้างรายได้จากการขาย Carbon credit เป็นจำนวนถึง 672,288 ตันต่อปี มูลค่าถึง 500 กว่าล้านบาทต่อปี (คิดราคาขาย carbon credit ในเดือนมกราคม 2008 อยู่ที่ 17 ยูโร/ตันcarbon และอัตราแลกเปลี่ยนที่ 44 บาทต่อยูโร) เจ้าของโครงการนั้นยิ้มแก้มปริเชียว ในบทความนี้ผมอยากจะบอกเล่าถึงเส้นทางความสำเร็จ อุปสรรคที่เกิดขึ้นให้ฟังกันน่ะครับ
               คาร์บอนเครดิตเกิดจากกลไกการพัฒนาที่สะอาด หรือซีดีเอ็ม (Clean development mechanism) เป็นสินค้าขององค์กรในประเทศกำลังพัฒนาที่เข้าร่วมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีการตรวจวัดปริมาณก๊าซที่ลดได้ในแต่ละปีและเมื่อได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดของสหประชาติแล้ว จะได้รับใบรับรองคาร์บอนเครดิตของตน ซึ่งนำไปขายให้กับผู้ซื้อจากประเทศพัฒนาแล้วได้จนถึงปี 2012

2.ผลประโยชน์จากสิ่งที่จับต้องไม่ได้
                  กลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล ทุนโครงการซีดีเอ็มโดยก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2 แห่ง มูลค่าลงทุนโรงละ 2 พันล้านบาท ได้แก่ โรงไฟฟ้าด่านข้างจังหวัดสุพรรณบุรี มีกำลังการผลิต 53 เมกะวัตต์และโรงไฟฟ้าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีกำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์ โดยใช้กากอ้อยที่เหลือจากการผลิตน้ำตาลมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้ว โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 9.3 หมื่นตันคาร์บอน ฯ และ 1.02 แสนตันคาร์บอนฯ ตามลำดับ หากคิดปริมาณคาร์บอนเครดิตจาก 2 โครงการของกลุ่มมิตรผลที่จะทำได้เป็นปีละ 1.95 แสนตันคาร์บอนฯ เท่ากับกลุ่มมิตรผลจะมีรายได้จากธุรกิจนี้ถึงปีละ 3.31 ล้านยูโรหรือกว่า 145 ล้านบาท ตามลำดับ
             ถึงแม้ว่าราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะมีการปรับตัวขึ้นลงได้ไม่ต่างจากราคาทุนหรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ แต่ผลตอบแทนที่ได้จากการขายคาร์บอนเครดิต ก็เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เอกชนไทยสนใจที่จะลงทุนในเทคโนโลยีที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น นอกเหนือไปจากผลตอบแทนที่ได้รับโดยตรงจากการลงทุนอยู่แล้ว
            อย่างไรก็ตาม มูลค่าการลงทุนแต่ละโครงการที่ต้องใช้เงินตั้งแต่หลักสิบล้านไปจนถึงหลายพันล้านบาททำให้เอกชนไทยหลายรายที่สนใจต้องล้มเลิกความตั้งใจหรือชะลอโครงการออกไปก่อนจนกระทั่งคาร์บอนเครดิตเริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้น ทำให้มีองค์การและนักลงทุนจากประเทศพัฒนาแล้วเข้ามาเสนอตัวเข้าร่วมในปลายรูปแบบ ตั้งแต่การร่วมลงทุน การสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วน ไปจนถึงการลงทุนให้ทั้งหมดเพื่อแลกกับคาร์บอนเครดิตที่จะเกิดขึ้น เช่น โครงการผลิตไฟฟ้าจากแกลบของบริษัท เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ จำกัด ซึ่งมีบริษัท ชูบุ อีเลคทริค พาวเวอร์ คัมปะน อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.จำกัด บริษัทในเครือ ของบริษัท ชู.บุ. อีเลคทริค พาวเวอร์ คัมปะนี อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าใหญ่อันดับ 3 ของญี่ปุ่นเข้ามาถือหุ้น 34 % รวมถึงโรงการผลิตพลังงานจากก๊าซชีวภาพของบริษัทแป้งตะวันออกเฉียงเหนือ (1987) จำกัด ที่ได้สถานฑูตเดนมาร์กออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ให้

3.ข้อจำจัดของโอกาศทางธรุกิจ
              เมื่อสินค้ามีอยู่แล้ว ผู้ขายและผู้ซื้อก็พร้อมแล้ว การขายคาร์บอนเครดิตของเอกชนไทยน่าจะสดใส แต่กระบวนการกลับต้องสะดุดเมื่อกลไกของภาครัฐไม่เอื้อเอาเสียเลยนั้นคือ
        1. การที่เรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ สหประชาชาติมีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์บ่อยครั้งและบางครั้งทำให้โครงการที่เดินหน้าไปแล้วต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่
       2. ขณะเดียวกันฝ่ายการเมืองและหน่วยงานภาครัฐของไทยมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมองว่าคาร์บอนเครดิตเป็นทรัพย์สินของประเทศ เอกชนไม่มีสิทธิ์ไปขายรวมทั้งยังมีความเข้าใจว่า ประเทศไทยไม่ควารขายคาร์บอนเครดิตจนหมด ควรเก็บเอาไว้บ้าง ส่วนสำหรับกรณีที่อาจต้องใช้ในอนาคต ซึ่งก็เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพิธีสารเกียวโตจะมีผลถึงปี 2012 เท่านั้น และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าหลังจากนั้นกฎเกณฑ์ต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปอย่างไร และคาร์บอนเครดิตในเวลานั้นจะยังมีค่าอยู่อีกหรือไม่
            ระยะเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงในพิธีสารเกียวโตกำลังงวดเข้ามาทุกขณะ ซึ่งอาจเป็นตัวเร่งให้เอชน ตัดสินใจทำโครงการด้านพลังงานเร็วขึ้น แต่สภาพเศรษฐกิจขณะนี้กลายเป็นเบรคที่ทำให้เกิดความละล้าละลังอยู่ เสหมือนกับว่านี่เป็นยุคตื่นตัวด้านพลังงาน แต่ตกต่ำภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศราคาน้ำมันแบบนี้ อาจยังไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนเช่นกัน
4.18 โครงการ ซีดีเอ็มที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาลไทย
รายการโครงการที่ได้รับรองจากรัฐบาลไทย
ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ต่อปี (ตัน)
โครงการผลิตไฟฟ้าจากแกลบ บ. เอ.ที ไบโอพาวเวอร์*
70,772
โครงการผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อยและใบอ้อย บ.ด่านช้าง ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี*
93,184
โครงการผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อยและใบอ้อย บ.ภูเขียว ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี*
102,553
โครงการผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อย บจม.น้ำตาลขอนแก่น ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี*
45,719
โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ บ.โคราช เวสต์ ทู เอ็นเนอร์ยี่*
315,000
โครงการผลิตไฟฟ้าจากเศษไม้ยางพารา บ. กัลฟ์ ยะลากรีน*
60,000
โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซที่ได้จากน้ำเสียฟาร์มสุกรของโครงการฟาร์มหมูราชบุรี
100,380
โครงการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล บ. สุราษฎร์ธานี กรีน เอ็นเนอร์ยี่
171,774
โครงการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล บ. สุรินทร์ อิเล็กทริค
12,584
โคงการผลิตพลังงานจากระบบบำบัดน้ำเสีย บ. สีมา อินเตอร์ โปรดักส์ (จ.นครราชสีมา)
21,733
โครงการผลิตพลังงานจากระบบบำบัดน้ำเสียบ. สีมา อินเตอร์ โปรดักส์ (จ.ฉะเชิงเทรา)
20,449
โครงการผลิตพลังงานจากก๊าซชีวภาพ บ. แป้งตะวันออกเฉียงเหนือ (1987)
35,420
โครงการผลิตพลังงานจากก๊าซชีวภาพ บจม. ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
30,028
โครงการผลิตพลังงานจากก๊าซชีวภาพ บ. ปาล์มน้ำมันธรรมชาติ
14,591
โครงการผลิตพลังงานจากก๊าซหลุมฝังกลบขยะ บ.เจริญสมพงษ์
99,139
โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพโครงการฟาร์มหมูราชบุรี บ. เอส.พี.เอ็ม อาหารสัตว์
32,027
โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพโครงการฟาร์มหมูราชบุรี บ.หนองบัวฟาร์ม แอนด์ คันทรีโฮมวิลเลจ
31,441
โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพโครงการฟาร์มหมูราชบุรี บ. วี.ซี.เอฟ กรุ๊ป
32,027
หมายเหตุ* หมายถึง โครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสหประชาชาติ
5. ลงทุนไป 250 ล้านบาท แต่สามารถคืนทุนได้ใน 1 ปี
              ปริมาณคาร์บอนเครดิตราว 3.15 แสนตันคาร์บอน ฯ ต่อปีจากโครงการผลิตไฟ้ฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังของบริษัท โคราช เวสต์ ทู เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ทำให้โครงการนี้เป็นโครงการที่ลดการปล่ยก๊าซเรือนกระจกได้สูง
             บริษัท โคราช เวสต์ ทู เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ก่อตั้งขึ้นด้วยเงินลงทุน 250 ล้านบาท เป็นการลงทุนของบริษัท คลีน เอ็นเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเม้นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ คลีนไทยเพื่อนำน้ำเสียจากบริษัทสงวนวงษ์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังรายใหญ่ของไทยมาผลิตก๊าซชีวภาพและไฟฟ้า และขายพลังงานที่ได้กลับให้สงวนวงษ์ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด 20 % โดยทำสัญญาแบบสร้าง เป็นเจ้าของและโอนให้ ระยะเวลา 10 ปี
            โครงการนี้เดิมคาดว่าจะคืนทุนได้ใน 3 ปี ทว่าราคาน้ำมันเตาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนวันนี้อยู่ที่ ประมาณ 15 บาท ต่อ ลิตรก๊าซในราคาถูกกว่าราคาน้ำมันเตา 20 % โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัญญายังมีการกำหนดเพดานราคาน้ำมันเตา เอาไว้ที่ลิตรละ 8.50 บาท แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันเตาพุ่งไปถึง 15 บาทต่อลิตร ยิ่งถือว่าสงวนวงษ์ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานมากขึ้นไปอีก
ทางบริษัท ไทยคลีน เพิ่มมูลค่าให้งานนี้ก็คือ การใช้ผลตอบแทนจากการขายคาร์บอนเครดิตเป็นสิ่งจูงใจสถาบันการเงินและนักลงทุนสถาบันจากประเทศต่าง ๆ โดยหากรวมรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตแล้วจะทำให้อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4-5% มาเป็น 12-14% ซึ่งเพียงพอที่จะดึงความสนใจจากนักลงทุนต่างชาตอให้มาลงทุนในโครงการของโคราช เวสต์ ได้ในสัดส่วน 50% ส่วนอีก 50% เป็นเงินกู้จากบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ไอเอฟซีที ( ปัจจุบันควบรวบกับธนาคารทหารไทยแล้ว )
            แม้มูลค่าคาร์บอนเครดิตในปัจจุบันจะสูงชนิดที่ว่าอาจจะทำให้โครงการอย่างโคราช เวสต์ สามารถคืนทุนได้ภายในปีเดียว แต่ทางบริษัทยืนยันว่าการขยายคาร์บอนเครดิตไม่ใช่ธุรกิจหลักของคลีนไทยแต่เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนและไบโอก๊าซต่างหาก “การยึดมั่นแต่เรื่องซื้อขายคาร์บอนเครดิต เหมือนเอาชีวิตแขวนไว้กับความเสี่ยงอย่างยิ่ง อีกทั้งถือเป็นการเก็งกำไรมากกว่าจะยึดเป็นธุรกิจหลัก” ประธานบริษัทไทยคลีนกล่าว เนื่องจากราคาของคาร์บอนเครดิตไม่ใช่ว่าจะขยับขึ้นเสมอไป อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนและหากขายไม่ได้ก็ไม่สามารถเก็บเอาไว้ได้
              “ครั้งหนึ่งในยุโรปช่วงต้นปี 2006 ราคาของคาร์บอนเครดิตเคยร่วงจาก 30 เหรียญลงมาเหลือแค่ 1 เหรียญต่อตันในวันเดียวและอยู่อย่างนั้นนาน 15 เดือน” เกิดขึ้นหลังจากที่มีบทวิจัยออกมาว่า คนส่วนใหญ่คิดว่าคาร์บอนเครดิตจะขาดแคลนในปี 2007 หลังจากนั้นรัฐบาลของประเทศแถบยุโรปได้เปิดเผยข้อมูลเชิงสถิติที่แสดงว่าคาร์บอนเครดิตนั้นมีมากอย่างล้นเหลือในตลาดทำให้ราคาร่วงลงทันที ราคาที่สูงขึ้นมาจากความมั่นใจที่มีต่อโครงการหากโครงการยังไม่เริ่มก่อสร้าง และไม่รู้ว่าจะส่งมอบคาร์บอนเครดิตได้จริงหรือไม่ นักลงทุนก็ยังเห็นแต่ความเสี่ยงมากมาย อาจทำให้ราคาอยู่ที่ตันละ 6 เหรียญเท่านั้นก็เป็นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น